วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นปลอดภัย สื่อรักษ์เพื่อลูก


รูปภาพของ ssspoonsak
ของเล่นปลอดภัย สื่อรักษ์เพื่อลูก [6 ธ.ค. 51 - 00:26]

วัยเด็กเป็นวัยแห่งจินตนาการ บางครั้งเราจะเห็นเด็กสามารถเล่นกับต้นไม้ใบหญ้าหรือสิ่งของรอบๆตัวเขาได้
ผู้ใหญ่เคยสงสัยหรือไม่ว่าของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กควรจะเป็นอย่างไร คำตอบที่ถูกต้องแบบคำตอบสุดท้ายคงไม่ได้มีเป็นหนึ่งเดียว แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปกครองอยากให้ลูกได้เล่นสนุกโดยมีของเล่นเป็นสื่อความ รักหรือเปล่า
เอกสารเผยแพร่ของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวว่า ของเล่นเด็กไม่ควรออกแบบให้เป็นของเล่นที่สำเร็จรูป เพราะเด็กจะนำของเล่นเหล่านั้นไปต่อยอดได้ด้วยจินตนาการของพวกเขาเอง ผู้ใหญ่จึงควรเป็นเพียงผู้เฝ้าสังเกต และคอยระวังอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับเด็กเท่านั้น รวมทั้งผู้ใหญ่นั้นจะต้องเป็นแบบอย่างการเล่นที่ดีให้กับเด็กด้วย เพราะเด็กจะมีพฤติกรรมการเลียนแบบ
เด็กจะมีพัฒนาการ 3 ส่วน คือ การเดิน การพูด และการคิด ดังนั้นการออกแบบของเล่น จึงต้องผสมผสาน แนวคิดหลายอย่างเข้าด้วยกัน การจะคิดออกแบบของเล่น จึงควรเน้นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด นั่นคือ ของเล่นควรออกแบบตามพัฒนาการในทุกระยะของเด็ก ทุกวัย และทุกเดือน ทุกปี หรือพูดง่ายๆ คือ การออกแบบของเล่นจำเป็นต้องเน้นที่ ความเป็นปัจจุบันของเด็ก นั่นเอง
ในเด็กทารกแรกเกิด จนถึง 7 ปี พ่อแม่ เป็นบุคคลสำคัญที่จะเป็นผู้เลือกและนำพาให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกทักษะในด้าน ต่างๆ ของเล่นจึงไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อน สวยงาม ราคาแพง ทั้งนี้ พ่อแม่อาจเป็นคนสร้างหรือทำของเล่นให้กับลูก และวัสดุที่เลือกใช้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน และสหกรณ์กรีนเนท จำกัด ได้จัดกิจกรรม “ของเล่นทำมือสื่อรักษ์เพื่อลูก” ทำขึ้นจากผ้าฝ้ายทอมือเพาะปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ สีขาว สีตุ่น และสีคราม (เกิดจากพืชล้มลุก “ต้นคราม”) ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองจำนวนหนึ่งในการทำของเล่นให้ลูกด้วยตนเอง
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา และมีความสนใจวิธีทำของเล่นเพื่อลูกรักจากผ้าฝ้ายทอมือ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิสายใยแผ่นดิน อีเมล์ thairaman@gmail.com


ที่มา: http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=114071

เลือก ของเล่นปลอดภัย ให้ลูกรัก



ข่าวอันตรายจาก ของเล่นปนเปื้อนสารตะกั่ว หรือจากของเล่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาจทําให้คุณแม่หลายท่านรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะกลัวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับลูกของเราเอง แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่าของเล่นคุณภาพ ที่ช่วยเสริมพัฒนาการลูกได้ ปลอดภัยด้วย มีอยู่ใกล้ๆ ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่จะเลือกหยิบเอาชิ้นไหน และปลูกฝังวิธีเล่นปลอดภัยให้ลูกอย่างไร
 
รู้จักคําว่า ‘ของเล่น’
     ของเล่นที่เราเข้าใจ หมายถึงของที่สร้างมาให้เด็กเล่นสนุก มักเป็นชิ้น เป็นชุด เป็นรูปแบบเฉพาะ แต่สําหรับเด็ก ของเล่น คือทุกอย่างที่อยู่ในมือ แม้แต่มือหรือเท้าของตัวเอง
     กระบวนการเรียนรู้ของเด็กประกอบด้วยสมอง ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเล่นทดลองสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น เล่นโยนลูกบอล เล่นเคาะถ้วยชาม เล่นปีนโต๊ะ เล่นทราย เล่นวิ่งไล่นก ต่างก็เป็นตัวช่วยทําให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง 3 ส่วนนี้ได้ ดังนั้น ปัญหาของเล่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่สําหรับครอบครัวคุณแม่ ยุคใหม่อีกต่อไป เมื่อเราสามารถเลือกของเล่นคุณภาพ จากสิ่งรอบตัวได้มากมาย
 
ของเล่นสําเร็จรูป
 โดย ทั่วไป ของเล่นสําเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาด มักจะมีผู้ให้คําแนะนําแล้วว่า ของเล่นชิ้นนี้เด่นในเรื่องการเสริมพัฒนาการด้านไหน ส่วนอีกชิ้นจะเด่นในเรื่องใด เช่น ตุ๊กตา เสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ การเล่นบทบาทสมมติ หนังสือผ้าช่วยสร้างสมาธิ จินตนาการ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน รถลางจูง ลูกบอล ช่วยเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทํางานประสานสายตา 
• หากคุณแม่มี ความเข้าใจพัฒนาการของลูก ว่าช่วงเวลานี้ควรเสริมทักษะด้านใด ลูกจะรู้สึกสนุกกับของเล่นชิ้นใดได้บ้าง แล้วเลือกซื้อของเล่นให้ตรงกับความต้องการ ไม่ซับซ้อนหรือเล่นง่ายเกินไป จะช่วยให้ของเล่นที่ซื้อมาได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าคุ้มราคา
 
เล่นปลอดภัย
• ระวัง ตั้งแต่การเลือกซื้อ ดูว่าเหมาะกับพัฒนาการตามวัยลูก มีชิ้นส่วนที่เล็กเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือไม่ ระวังเหลี่ยมมุมแหลมคม ปราศจากสารพิษเจือปน ทนมือลูกได้ดี การผลิตได้มาตรฐาน และมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์
 
ของเล่นจากธรรมชาติ
• ใน ช่วงแรกเริ่มของชีวิต เด็กๆ ควรได้รู้จักและสัมผัสกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ ทราย ดิน หิน หญ้า ของเล่นจากไม้ ฯลฯ ซึ่งของเล่นจากธรรมชาติเหล่านี้อาจทําให้ลูกมอมแมมไปบ้าง (ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเพียงแค่ ล้างหลังจากเล่นเสร็จแล้ว) แต่ลูกจะเรียนรู้ว่า เหยียบพื้นหญ้าไปแล้ว รู้สึกนุ่มๆ แต่ก็ไม่สบายเท้า ชื้นๆ ล้มแล้วก็ไม่เจ็บเท่าไร รู้ว่าน้ำทําให้เปียก มีทั้งร้อนและเย็น ทรายเป็นเม็ดเล็กๆ มีกองเล็ก มีกองใหญ่ และคิดต่อยอดว่าจะต้องเล่นอย่างไรจึงจะสนุก
• ลูก ได้จับ รับรู้ผิวสัมผัสที่แตกต่าง จมูกได้กลิ่น ใช้สายตามองดู เอียงหูฟังเสียง แม้กระทั่งเสียงเทน้ำไหลจ๊อกๆ หากคุณแม่ชี้ชวนให้ลูกตั้งใจฟัง การเทน้ำจากแก้วใบหนึ่งลงพื้น ก็เป็นของเล่นที่ทําให้ลูกได้เรียนรู้แล้วความใกล้ชิดนี้จะช่วยกล่อมเกลาจิต ใจลูกให้อ่อนโยน เข้าใจความเป็นมาเป็นไป รู้สึกรักและหวงแหนธรรมชาติ
 
เล่นปลอดภัย
• อันตรายจากของเล่นธรรมชาติมีน้อย เพราะปราศจากสารเคมีและสิ่งปรุงแต่ง
• ใช่ ว่าจะวางใจของเล่นจากธรรมชาติได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะทรายสามารถปลิวเข้าตาลูก ถ้าลูกไม่ได้เรียนรู้ว่า อย่าเททรายสูงเกินไป น้ำในอ่างอาจทําให้ลูกสําลักได้ แม้แต่หินก้อนเล็ก ลูกก็อาจหยิบเข้าปาก ติดคอได้ถ้าไม่รู้ว่าควรระวัง คุณแม่เป็นตัวช่วยแรกที่จะป้อนข้อมูลวิธีเล่นอย่างปลอดภัยให้กับลูกได้ และเลือกให้เหมาะกับวัย
 
ของเล่นในบ้าน
• บรรดา ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ที่นอนนิ่มๆ โต๊ะเก้าอี้ บันได ถ้วยชาม แก้วพลาสติก เครื่องใช้ในครัว ต่างเป็นของใช้ในชีวิตประจําวันที่เจ้าตัวเล็กสามารถแปรสภาพให้มันกลายเป็น ‘ของเล่น’ สําหรับเขาได้
• เด็กๆ จะได้ใช้จินตนาการ เล่นบทบาทสมมติ เอาแก้วเปล่าๆ มาเท ใช้ช้อนคน เลียนแบบการทําอาหารของคุณแม่ เอาหมอนหลายใบมากองสูงๆ สมมติว่าเป็นภูเขาไว้ปีนป่าย
• ของเล่นในบ้านจะกึ่งบังคับให้ลูกต้องใช้กระบวนการคิด หาวิธีสร้างสรรค์ความสนุกจากสิ่งของที่ดูธรรมดาๆ ให้สนุก
 
เล่นปลอดภัย 
• ของ ใช้ในบ้านไม่ได้ผลิตมาเพื่อการเล่นสําหรับเด็ก ดังนั้นการเล่นให้ปลอดภัย จึงเป็นหลักการเดียวกับการป้องกันอันตรายในบ้านนั่นเอง เช่น การลบเหลี่ยมมุมโต๊ะ ปิดปลั๊กไฟที่อยู่ในระดับที่ลูกเอามือแหย่ถึง พวกสารเคมีหรือของใช้ที่แตกหักง่ายอย่างชามแก้ว เซรามิคก็ควรเก็บให้พ้นมือลูกเสียก่อน
• ลูก วัยนี้มักชอบทดสอบกล้ามเนื้อมัดเล็กใหญ่ของตัวเอง พวกตู้ โต๊ะ ของเล่นชิ้นยักษ์สําหรับลูกก็ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ดี แต่คุณแม่ต้องทําความเข้าใจกับเขา ลูกปีนเก้าอี้ตัวใหญ่ได้ แต่ปีนเก้าอี้ติดล้อไม่ได้นะ และบอกเหตุผลว่าเพราะอะไร เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง  
 
ของเล่นทําเอง
• ลูก จะมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีขึ้น เมื่อได้กอดตุ๊กตาสัตว์นุ่ม และจะดีแค่ไหนหากตุ๊กตานั้นทําด้วยผ้าขนหนูจากฝีมือของคุณแม่ ที่แฝงความรักและความห่วงใย ใส่ลงไปทุกขั้นตอนการประดิษฐ์
• ของ เล่นทําเองได้แก่ หุ่นมือ ตุ๊กตาจากผ้า หนังสือทําเอง สมุดวาดภาพระบายสี แป้งโดว์ รถลากจูงจากขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ   นอกจากจะสร้างประสบการณ์ให้ลูกได้โดยไม่ต้องกระเป๋าฉีก ยังช่วยให้คุณแม่สร้างสรรค์ของเล่นได้ตรงกับความสนใจและพัฒนาการลูกด้วย
• อาจ จะให้ลูก ‘ช่วย’ ทําของเล่นด้วย ช่วยกันคิดช่วยกันทํา ออกแบบว่าอยากให้เป็นอย่างไร แม้จะไม่ใช่ของเล่นที่สวยงามหรือสมบูรณ์แบบ แต่มันก็จะเป็นของเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเจ้าตัวเล็ก
 
เล่นปลอดภัย
• ของเล่นทําเองได้เปรียบกว่าของเล่นประเภทอื่น ตรงที่
คุณ แม่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ วิธีการทํา เช่น การให้ลูกเล่นปั้นแป้ง คุณแม่ก็สามารถเลือกวัตถุดิบที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุดให้กับลูกได้ โดยไม่ลืมที่จะทําของเล่นตามพัฒนาการและความสนใจของลูกเป็นสําคัญ
• เมื่อคุณแม่สร้างของเล่นที่ปลอดภัยให้แล้ว อย่าลืมสอนลูกสังเกตความเปลี่ยนแปลงของของเล่นเหล่านั้นด้วย เช่น “ตอนนี้
รถ ลากล้อหลุดแล้ว หนูต้องบอกคุณแม่ให้มาช่วยหาทางซ่อมกันนะ ไม่อย่างนั้นไม้แหลมที่ยื่นออกมาตรงล้ออาจทิ่มตาหนูได้ถ้าไม่ระวัง” เป็นต้น
 
 
 
 
 
Tips

• การ สอนลูกเรียนรู้วิธีเล่นตามลําดับขั้น จากของเล่นที่อันตรายน้อย เช่น ให้ลูกลองแตะน้ำอุ่นในอุณหภูมิที่ลูกยังรับได้ เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่อันตรายกว่าคือ น้ำร้อน ว่าอาจทําให้ลูกมือพองผิวลอกและเจ็บได้ เป็นการสอนลูกให้รู้จักระวังอันตรายจากตัวอย่างที่สัมผัสได้จริง จะทําให้ลูกเชื่อ และจดจําได้ดีกว่าการสอนปากเปล่า

• การ เก็บของเล่นก็มีความสําคัญ ไม่สุมของเล่นลูกทั้งหมดไว้เป็นกองสูงและแน่น เพราะอาจเป็นอันตราย เลือกชั้นวางแบบเปิดจะปลอดภัยกว่าการเก็บในตู้ ป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปติดอยู่ในนั้น

• หมั่นสํารวจตรวจดูของเล่นอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีชิ้นส่วนไหนชํารุดเสียหายบ้าง

• ของ เล่นบางชิ้นที่เหมือนไม่ใช่ของเล่น และดูน่าจะมีอันตราย เช่น มีด กรรไกร เพราะเป็นของมีคม ลูกยังไม่มีข้อมูลเก็บไว้เหมือนผู้ใหญ่ว่าถ้าจับตรงด้านคมมันจะบาดมือ จึงอยากแนะนําให้ลูกได้มีโอกาส ‘ลองเล่น’ ดูบ้าง โดยคุณแม่เป็นผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ลูกจะได้เรียนรู้ว่าต้องจับมีดแบบไหน ถือกรรไกรอย่างไร มันถึงจะไม่บาดมือ หากลูกไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้วิธีเล่นที่ปลอดภัยเลย ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า

• ของ เล่นบางชิ้น เด็กบางคนเล่นได้ แต่เด็กบางคนเล่นแล้วอันตราย เพราะเด็กๆ มีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกัน เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องทําความรู้จักธรรมชาติของลูก ด้วยการเฝ้าดูลูกเล่น หมั่นสังเกตว่าลูกใช้ทักษะต่างๆ ได้คล่องหรือไม่ มีความสามารถทําอะไรได้บ้าง ก็จะช่วยให้วางแผนการเลือกของเล่นได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Subject :ของเล่นเด็กมีมากจะดีหรือ?

:?
ข้อมูลจาก http://www.elib-online.com/doctors49/child_toy003.html

ปัจจุบันยังมีแม่อีกมากที่ชอบซื้อของเล่นให้ลูก คุณแม่ส่วนใหญ่ชอบเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการ เพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกแทนเวลาที่แม่ไม่อยู่ ของเล่นพวกนี้คงจะเป็นเครื่องมือช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีได้ไม่มากก็น้อย ฟังดูก็มีเหตุผล แต่จะถูกหรือผิด ไปดูผลงานการวิจัยกันค่ะ

รศ.พญ.นิตยา คชภักดี กุมารแพทย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า ของเล่นกระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ถ้ามากเกินไปกลับส่งผลให้เกิดความเครียด เปรียบเหมือนเราไปในสถานที่ที่มีแสงสีเสียงมากๆ ทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะและมีสมาธิจดจ่อน้อยลงด้วย ส่วนของเล่นที่ยากเกินอายุ แทนที่จะส่งผลดีต่อเด็ก แม่ซื้อรถบังคับวิทยุทั้งที่ลูกเพิ่งจะอายุ 2 ขวบ เขาก็จะไถให้มันวิ่ง พอมันไม่วิ่ง เด็กก็จะโกรธและขว้างทิ้ง คุณก็จะโกรธว่าของเล่นดีๆ แพงๆ ทำไมลูกถึงทำอย่างนั้น สรุปคือเสียอารมณ์ทั้งแม่และลูก การเลือกของเล่นจึงต้องเหมาะกับพัฒนาการของเด็กด้วย

รศ.ดร.จิตินันท์ เตชะคุป ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นของเด็กทั้งในและต่างประเทศ กล่าวว่า ที่สหรัฐอเมริกามีคุณพ่อท่านหนึ่งสร้างห้องสำหรับเล่นให้ลูก ภายในห้องมีของเล่นเยอะมากแต่แทนที่ลูกจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่พ่อหามาให้ ลูกกลับไม่ยอมเล่นเลยเพราะความมีมากเกินไป ต่างกับอีกครอบครัวหนึ่งที่ผู้ปกครองหาเวลามาเล่นกับลูกแทนการใช้ของเล่น คือเป็นการเล่นในลักษณะทางกาย คุณพ่อจะเล่นมวยปล้ำกับลูก ส่วนคุณแม่จะสอนในลักษณะการสอนเรื่องสี ขนาดรูปทรง จากสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เด็กมีพัฒนาการที่ดี เพราะได้คิดตามผู้ใหญ่ การให้เล่นของเล่นที่ไม่มีสภาพเหมือนของจริง เช่น เอากล่องกระดาษมาจินตนาการว่าเป็นรถ จะพัฒนาความคิดซับซ้อนให้กับเด็กซึ่งดีกว่าการเล่นของเล่นที่เหมือนจริง เนื่องจากเด็กต้องใช้จิตนาการว่ากล่องกระดาษเป็นรถนั่นเอง

ส่วนในต่างประเทศมีการวิจัยในเรื่องนี้หลายชิ้น เช่น มิลแคร์ เลิร์นเนอร์ ชาวอเมริกัน นักวิจัยด้านพัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พบว่าเด็กที่มีของเล่นมากเกินไป จะลดความสนใจที่จะเล่นของเล่นของตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีของเล่นน้อยชิ้นกว่า ซึ่งตรงกับผลงานการวิจัยของ แคธี่ซิลเวียนักวิจัยคณะจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงซ้อน เกี่ยวเนื่องระหว่างการก้าวหน้าของเด็ก ชนิดของเล่นที่ให้กับเด็ก และเวลาที่พ่อแม่เล่นกับลูก พบว่าของเล่นที่มากชิ้นแทนที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก กลับทำให้เด็กลดความสนใจของเล่นลง และใช้เวลากับของเล่นไม่นานนัก จนไม่สามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของของเล่นชิ้นนั้นได้

ประเทศอังกฤษมีการทำวิจัยว่า ผู้ปกครองซื้อของเล่นเป็นจำนวนเงินถึง 1.67 พันล้านปอนด์ต่อปี เฉลี่ยปีละ 139 ปอนด์ต่อเด็ก 1 คน ในจำนวนนี้เป็นของเล่นที่ซื้อมาแล้วเด็กไม่ได้เล่น ตีเป็นเงินถึง 5 พันล้านปอนด์

Mr.Orhan Ismail นักวิจัยจากประเทศอังกฤษ สังเกตพฤติกรรมจากลูกของตนเองว่า เมื่อได้ของเล่นหลายชิ้นจะเล่นปุ๊บปั๊บแล้วเลิก หันไปหาอย่างอื่นเล่นแทน เช่น รองเท้าแตะใส่เดินในบ้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในของใช้ที่มีอยู่ทั่วไปในบ้าน

มีผู้แสดงความเห็นว่า การกระตุ้นให้ลูกออกไปวิ่งเล่นข้างนอกบ้านจะดีกว่า แต่ถ้าอยู่ในบ้าน การให้เล่นกล่องกระดาษจะดีกว่าตุ๊กตาบาร์บี้ เพราะกล่องกระดาษช่วยให้ลูกสามารถสร้างจิตนาการเอาเองได้มากกว่าเนื่องจาก จะสมมติเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่ความนึกคิดของเด็ก ในขณะที่ตุ๊กตาบาร์บี้ที่มีชุดแต่งตัวเป็นทันตแพทย์ ก็จะหยุดจินตนาการของเด็กเพียงแค่นั้นนอกจากนี้มีงานวิจัยที่รวบรวมเป็นหนังสือช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ว่าวิธีดังกล่าวช่วยสร้างให้เด็กมีความภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในตนเอง และในทางกลับกัน หากเด็กใช้เวลามากเกินไปกับการเล่น เช่น เด็กที่ติดเกมส์คอมพิวเตอร์ จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างจิตนาการของเด็กจำกัดหรือลดน้อยลงด้วย

ฉะนั้นของเล่นที่มากเกินไป รวมถึงเวลาในการเล่นของลูก ไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของลูกได้ หากขาดคุณภาพ ซึ่งในที่นี้ก็คือคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่
เล่นกับลูก เพราะถึงแม้คุณจะมีเวลาไม่มาก แต่ถ้าเวลาเหล่านั้นผ่านไปอย่างมีคุณภาพ เด็กได้เล่นและเรียนรู้อย่างพอดีไปในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ช่วงเวลาที่เกิดประโยชน์สูงสุดได้ค่ะ

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ดูดีๆก่อนเลือกกันนะคะ

การเล่นและของเล่นที่เสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
อายุ 0-2 เดือน

การเล่นและของเล่น:  ยังเล่นไม่เป็น  สามารถตอบสนองต่อเสียงและหันศีรษะหาเสียง  ควรพูดคุย   หรือร้องเพลงเห่กล่อม
ประโยชน์ของเล่นเด็ก :  กระตุ้นการรับรู้เสียงและประสาทสัมผัส
อายุ 2-2.5 เดือน
การเล่นและของเล่น
  1. ชอบจับตาดูของที่เคลื่อนไหว  ควรแขวนของเล่นที่มีสีฉูดฉาดและมีเสียงไว้ให้ดู  ในระยะ
    ไม่เกิน 8 นิ้ว เช่น โมบายปลาตะเพียน เศษผ้าสีต่างๆ มีกรุ๋งกริ๋งที่ปลาย ไม้ไผ่ทาสีผูกเรียงใกล้ ๆ กัน และมีเสียงเวลาลมพัด
    ประโยชน์ของเล่นเด็ก : กระตุ้นการใช้สายตา และการฟังเสียง
      2. เล่นกับมือของตัวเอง รู้จักขยำนิ้วมือเล่น ควรหาของเล่นที่มีสีสดใส และมีเสียงกรุ๋งกริ๋งใส่ในมือเด็ก เช่น ลูกเขย่ากลม ๆ ข้างในมีเสียงกรุ๋งกริ๋ง เวลาที่ขยับไปมาเด็กจะชอบมาก
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก : ฝึกฟังเสียงสังเกตว่าเมื่อเคาะหรือเขย่าเสียงจะดังและทำให้เด็กสนใจดูมือช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้มือ
กับสายตาพัฒนาไปเร็วขึ้น
อายุ 2.5-3 เดือน
การเล่นและของเล่น
       1.  ชอบเล่นปัดวัตถุที่มองเห็นและมือยื่นไปถึง ของเล่นควรเป็นลูกบอลนิ่มๆ แขวนไว้เหนือเปลหรือเตียงให้ห่างจากตาประมาณ 10 นิ้ว เวลา เด็กต่อยหรือปัดไปมา ถ้ามีเสียงด้วยยิ่งดี
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกสายตากับการใช้มือให้สัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น และฝึกสังเกตเสียงที่ได้ยินเวลาลูกบอลถูกปัดไปมา

อายุ 3-4 เดือน
การเล่นและของเล่น

      1. ชอบเล่นและจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัว ของเล่นควรเป็นแบบคานมหาสนุกซึ่งไม่แกว่ง หรือโยนตัวหนีเด็กไปอีกทาง เพื่อไม่ให้เด็กหงุดหงิด
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกให้เด็กใช้มือจับสิ่งต่างๆ และสังเกตด้วยการสัมผัส ได้ความรู้สึก แข็ง นิ่ม

อายุ 4-6 เดือน
การเล่นและของเล่น
       1. อยากดู อยากยื่นแขนออกไปแตะและจับวัตถุต่างๆ มากขึ้น ควรหาของต่างๆ ให้เด็กดู และจับมาก ๆ เช่น ตุ๊กตายางเป็นรูปต่างๆ มีผิวหยาบแต่ นุ่มนิ่ม ลูกบอลทำด้วยผ้าสำลี หรือผ้าลื่นๆ ถ้ามีเสียงดังเวลาที่กำบีบ เขย่าเด็กยิ่งชอบ ของเล่นอาจเป็นกล่อง กระดาษแข็งสีต่างๆ บรรจุเมล็ดผลไม้ไว้ข้างในก็ได้ แต่สิ่งที่ให้เด็กจับต้องเป็นวัตถุที่ไม่มีพิษภัย หรือเป็นอันตรายเมื่อเด็กเอาใส่ปาก
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้มือ นิ้วมือ หยิบจับสิ่งต่างๆ ได้ ความรู้สึกหยาบ แข็ง นิ่ม ลื่น และฝึกสังเกตฟังเสียง
       2.  ชอบเล่นน้ำเวลาอาบน้ำ  ควรให้ของเล่นที่ลอยน้ำได้ เช่น  ตุ๊กตาทำด้วยยางหรือ พลาสติก ลูกบอลใส ๆ มีของอยู่ข้างในและมีเสียงเวลาน้ำกระเพื่อม
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้มือ นิ้วมือ หยิบจับสิ่งต่างๆ สังเกตการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ลอยน้ำได้


อายุ 6-8 เดือน
การเล่นของเล่น


        1. รู้สึกคันเหงือกเมื่อฟันใกล้ขึ้น ควรให้ยางหรือพลาสติกสำหรับกัด อาจใช้ผักสดชิ้นโต ๆ ก็ ได้ เช่น แตงกวา คว้านเมล็ดออก ล้างให้สะอาด
        ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ช่วยให้เด็กคลายคัดเหงือกได้ ยิ่งคัดมากยิ่งอยากใช้เหงือกย้ำ ทำให้เหงือกแข็งแรง
        2. ชอบเล่นกับเงาตัวเองในกระจก เล่นจ๊ะเอ๋ หรือซ่อนหา ของเล่นอาจเป็นพลาสติกในแบบกลอกกลิ้งลูกแก้ว
        ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตและเคลื่อนไหวสายตา

        3. ชอบเล่นลิ้นชัก เล่นกระดาษ และฉีกกระดาษ
        ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้มือ นิ้วมือให้คล่องแคล่วขึ้น

        4.   ชอบเสียงกระทบกัน ของเล่นควรเป็นของไม่แตก และทำให้เกิดเสียงดังได้ เช่น ของเล่นไขลานเดินได้ หมุนได้ มีเสียง
         ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตและเคลื่อนไหวสายตา ขณะที่ของเล่นไขลานเคลื่อนที่
อายุ 8-9 เดือน
การเล่นของเล่น

        1. ชอบโยกตัวเป็นจังหวะเวลาได้ยินเสียงเพลงควรเปิดเพลงให้เด็กฟัง
         ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกฟังเสียงและจังหวะเพลง

        2. ชอบจับต้องสิ่งของต่างๆ สนใจในเรื่องน้ำหนัก รูปร่าง พยายามนำสิ่งของต่างๆมารวมเข้าด้วยกันและจับแยกออกของเล่นควรเป็นวัสดุที่ทำเป็นรูปต่างๆ
อาจเป็นกล่องกระดาษแข็งสีต่างๆ บรรจุเมล็ดผลไม้ หรือก้อนกรวดไว้ข้างใน
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก :   ฝึกการสังเกตรูปร่างต่างๆ ถ้าหากวัสดุนั้นมีอะไรอยู่ข้างใน ก็จะจับเคาะ เขย่า ฝึกการฟังเสียงและรู้สึกถึงน้ำหนักของ
วัสดุนั้นด้วย

อายุ 9-10 เดือน
การเล่นของเล่น

       1. ชอบหยิบของเล็ก ๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ขอบเล่นรูและซอกต่างๆ ตามเก้าอี้ ของเล่นควรเป็นพวกกล่องหรือหีบเจาะรู้ไว้ข้างบน ใหญ่พอที่เด็กจะหยิบของชิ้นเล็ก ๆ เช่น หมุดไม้ หรือพลาสติกสีต่างๆ ใส่ลงไป
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้ปลายนิ้วหยิบใส่ กดลงไปในรูหรือช่องที่เจาะไว้บนกล่อง และฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน
       2. ชอบเล่นดึงเชือกที่ติดกับของเล่นทำให้ของเล่นเคลื่อนที่ได้
           ประโยชน์ของสนามเด็กเล่น:   ฝึกการใช้กล้ามเนื้อแขนและการเคลื่อนไหวสายตา


อายุ 10 เดือน –1 ปี
การเล่นและของเล่น


         1. ชอบเล่นตบแผละ และเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เล่นซนมาก ชอบรื้อของ
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกการใช้มือและแขน การสังเกตและส่งเสริมการเรียนรู้


อายุ 1-1.5 ปี
การเล่นและของเล่น
         1. เด็กจะสนุกกับสิ่งใหม่ ๆ ที่พบเห็น ชอบปีนป่ายขั้นบันได มุดใต้โต๊ะ เข้าไปใต้ตู้
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  เรียนรู้สิ่งต่างๆ ฝึกการเคลื่อนไหวให้ คล่องแคล่ว

          2. ชอบขว้าง ปา ตอก ถอดให้หลุด ของเล่นควรเป็นพวกกล่อง กระป๋อง ภาชนะต่างๆ ที่ไม่แตก ซึ่งมีรูปร่างต่างๆ หีบไม้ใหญ่มีล้อเลื่อนให้เด็กผลักเล่น ปีนขึ้นไปนั่ง หรือขว้างของลงไปในหีบและกระดานฆ้อนตอก
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตด้วยการสัมผัส ลูบคลำ เรียนรู้รูปทรง และฝึกกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ แขน ขา ให้แข็งแรง ฝึกการกะระยะ และการใช้ตาและมือให้ทำงานประสานกัน
        
          3. เมื่อเด็กชอบเดิน ของเล่นควรเป็นประเภทที่ลากไปมาได้ เช่น ขบวนรถไฟที่ทำด้วยไม้แล้วโยกเป็นคันๆ ได้
            ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการทรงตัวได้อย่างดีเมื่อเด็กหันมาดู บ่อยๆ ว่ารถที่ลากเล่นตามปกติหรือไม่ และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จเมื่อนำรถแต่ละคันมาต่อกันและลากไปมาได้

         4.  ชอบเล่นน้ำอย่างมาก มักเอามือตีน้ำ เทน้ำเล่น อาจนำขาดพลาสติกที่ตัด และเจาะรู้ให้น้ำไหลได้มาให้เด็กเล่น นอกจากนี้เด็กชอบทดลองทิ้งของต่างๆ ลงไปในน้ำเพื่อดูว่าอะไรบ้างลอยน้ำหรือจมน้ำ
          ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนาความรู้สึกในการสัมผัส  และทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าสิ่งของใดบ้างที่ลอยน้ำ หรือจมน้ำ

         5. ชอบเคลื่อนไหว มีความพยายามทำสิ่งยากๆ
            ประโยชน์เครื่องเล่นสนาม:  เป็นการควบคุมและฝึกกล้ามเนื้อและทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง


อายุ 1.5-2 ปี
การเล่นและของเล่น
       1. กระดานฆ้อนตอก
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว ช้า-เร็ว

       2. ของเล่นที่ลากจูงและผลักไปมาได้
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:์ ฝึกตาและมือให้ทำงานประสานกันและฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือ ข้อมือ

       3. ไม้บล็อกขนาดรูปร่าง ต่างๆ กันประมาณ 5-6 ชิ้น
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกสังเกตเรียนรู้การวางซ้อน

       4. หีบหรือกล่องซ้อนเป็นเถาหรือเป็นชุดอาจทำด้วยไม้ พลาสติกหรือกระดาษแข็ง ให้เด็กจับเรียงขนาดหรือซ้อนกัน เช่น ถ้วยพลาสติก หม้อเล็ก ๆ
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: วางเรียง และฝึกความคิดเปรียบเทียบขนาดรูปร่าง

       5. กล่องมีรู เป็นรูปต่างๆ ให้เด็กเลือกหยิบบล๊อกรูปทรงหย่อนลงรูตามรูปได้
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกตรูปทรง ฝึกการใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กัน

       6. ของเล่นที่เป็นภาพฉลุอยู่ในกรอบเป็นชุด ๆ เรียงลำดับตามขนาดใหญ่ไปเล็กหรือสั้นไปยาวและถอดออกเรียงใหม่ได้
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกตขนาด ความยาว และฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ
       7. ภาพตัดต่อ ประมาณ 3-6 ชิ้น เป็นรูปต่างๆ เช่น บ้าน สัตว์ อาจทำด้วยพลาสติก กระดาษแข็ง ให้เด็กนำมาเรียงกันโดยวิธีลองผิดลองถูก
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ ฝึกการคิด การจำ โดยต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
    
       8. ลูกปัดขนาดใหญ่สีต่างๆ มีเชือกเหนียว ๆ สำหรับร้อยลูกปัด
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตขนาด สี และฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน

       9. สัตว์ หรือตุ๊กตาหรือลูกบอลที่ทำด้วยวัสดุนุ่ม ๆ เช่น ผ้า ยาง ให้เด็กจับ ขยำเล่น หรือโยนเล่นแบบลูกช่วง
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนาความรู้สึกและการเรียนรู้ในการสัมผัส ฝึกการใช้สายตาประสานกับกล้ามเนื้อนิ้วมือ แขน ให้คล่องแคล่ว

       10. ตุ๊กตาว่ายน้ำได้เวลาไขลาน หรือบีบถุงลมแล้วกระโดดได้
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: เด็กสนุกต่อการสัมผัส การบีบพัฒนากล้ามเนื้อมือ ถ้าไขลานแล้วตุ๊กตาว่ายน้ำ ขยับแขนไปมาได้ หรือบีบในน้ำก็พุ่งกระโดดได้เด็กยิ่งสนใจ
       11.  ของเล่นที่บีบจับแล้วมีเสียง หรือทำให้เกิดเสียง
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: เด็กสนุกเมื่อบีบรัดแล้วเกิดเสียง ฝึกทั้งฟังเสียงและพัฒนากล้ามเนื้อมือ

       12. ขั้นบันไดอาจทำด้วยพลาสติกหรือไม้หรือเป็นหีบแข็งใบใหญ่ๆ ให้เด็กวางซ้อนเรียงเป็นบันไดหรือใช้เก้าอี้เตี้ยๆให้เด็กก้าวเล่น กระโดดขั้น –ลง
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้ทักษะการทรงตัว พัฒนากล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว

       13. ของเล่นที่ใช้ตักตวงทรายเล่นในบ่อทราย เช่น พลั่ว ช้อน ถัง ทำด้วยพลาสติก
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ  แขน

       14. หนังสือรูปภาพ มีภาพชัดเจน เหมือนของจริง
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกต รู้จักซื่อสัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ และฝึกพูดจากภาพ


อายุ 2-3 ปี
การเล่นและของเล่น
       1. เด็กเดินได้ตรงและยืนขาชิดกันได้มากขึ้น ควรให้เล่นเกี่ยวกับการทรงตัว และให้วิ่ง ปีนป่าย กระโดด เขย่งควบม้า
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

       2. ชอบเล่นของเล่นที่ออกแรงมาก ๆ เช่น ของเล่น ที่ดึงออกและใส่ใหม่ได้ ลูกบอลลูกโตๆ
แต่เบา ๆ สำหรับเล่นเตะและขว้าง เล่นกระดานฆ้อนตอก ขี่รถจักรยาน 3 ล้อ
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ คือ แขน ขา ฝึกการกะระยะ และฝึกการใช้สายตา มือ และเท้าให้ทำงานประสานกัน

        3. อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ควรให้เล่นของเล่นที่ใช้ประสาทสัมผัส เช่น ภาพตัดต่อย่างง่ายๆ ประมาณ 3-6 ชิ้น ภาพต่อปลาย (โดมิโน) กล่องหยอดบล๊อกรูปทรงต่างๆ และให้เล่นสร้างสิ่งต่างๆด้วยไม้บล๊อก
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตและการเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กันและฝึกความคิดสร้างสรรค์

        4. ชอบเล่นเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เช่นการแต่งตัว การทำงาน ควรหาของเล่นเป็นพวกตุ๊กตา มีเสื้อผ้าสวม-ถอดได้ ของใช้ในบ้านจำลอง เช่น หม้อข้าว หม้อแกง เตา กระทะ เตารีด ที่รองรีด โต๊ะเก้าอี้ เตียงนอนเล็ก ๆ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวเด็กกับบุคคลรอบ ๆ ตัวเด็ก และฝึกการเล่นเลียนแบบ

         5. ชอบเล่นคนเดียว และเริ่มเล่นกับเด็กอื่น แต่จะมีเรื่องทะเลาะกัน เช่น แย่งของเล่น ควรเริ่มสอน ระเบียบ วินัย จัดกิจกรรม ร้องเพลง และเล่านิทาน สอนเด็ก
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการเล่นเป็นกลุ่ม การควบคุมอารมณ์และระเบียบวินัย

         6.  ชอบเล่นของเล่นอื่น ๆ เช่นเดียวกับเด็กวัย 1 ?-2 ปี


อายุ 3-4 ปี
การเล่นและของเล่น
        1. เด็กวัยนี้กล้ามเนื้อใหญ่ที่แขน ขา แข็งแรงขึ้นควรส่งเสริมให้วิ่ง กระโดด ปีนป่าย
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรง เคลื่อนไหวกระฉับกระเฉงขึ้น
      
         2. การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเล็กที่มือดีขึ้น ควรให้เล่นของเล่นที่สวมเข้ากันได้ ดึงออกมาได้ และของเล่นที่หมุนเป็นเกลียว เล่นโยนรับของเบาๆ และควรฝึกให้ผูกเชือกรองเท้าติดกระดุมเสื้อเอง
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:   พัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้แข็งแรง ทำงานคล่องแคล่วขึ้น

        3. การทรงตัวดีขึ้น ควรฝึกเดินบนกระดานแผ่นเดียว เดินบนเส้นตรง ยืนขาเดียว ชอบการเล่นที่เพิ่มความรุนแรง พลิกแพลง และโลดโผน ควรฝึกให้รู้จักม้วนตัว กลิ้งตัว ปีนป่าย และกระโดดจากที่สูง
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการทรงตัวให้ดีขั้น ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเองความกล้า และการตัดสินใจ

        4. ชอบการเล่นอิสระ การเล่นเลียนแบบลักษณะท่าทางของบุคคลและสัตว์ การเล่นสมมติกับตุ๊กตา การเล่นประกอบเรื่องหรือนิทาน การแสดงท่าทางประกอบเพลง หรือกิจกรรมเข้าจังหวะ และเริ่มสนใจการเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ กับเด็กอื่น ๆที่ใช้เวลาสั้น
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา

        5. ชอบเล่นของเล่นที่ยากมากขึ้น และของเล่นที่ทำให้ออกกำลังกายมากก ๆ เช่น เล่นเครื่องเล่น สนาม ได้แก่ ชิงช้า บันได ไต่ ไม้ลื่น บ่อทราย เล่นก่อสร้างสิ่งต่างๆ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง และพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ที่แขน ขา ให้แข็งแรง
อายุ 4-6 ปี
การเล่นและของเล่น

        1. การเจริญเติบโตของลำตัวท่อนบนช้า แขนและขายาว มือสั้น เท้าเจริญช้า ควรส่งเสริมให้ กระโดด กระโดดเชือก เขย่ง ปีนป่าย ฝึกให้เล่น ผาดโผน เล่นเกมที่เน้นการควบคุมความเร็วของร่างกาย เช่น เกมที่เล่นเป็นวงกลม เช่น การฟักไข่ บอลม้า เกมที่เกี่ยวกับการหนี เช่น ไล่จับ ไล่แตะ
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่  และฝึกทักษะการทำงานของร่างกาย  และกล้ามเนื้อ

        2. สายตาสามารถมองเห็นไกล ๆ สายตาและมือทำงานประสานกันได้รวดเร็วและดีขึ้น ควรให้เล่นกับลูกบอลใหญ่ ๆที่เบา ๆ ให้โยน เหวี่ยงวิ่งรับ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกให้สายตา มือ เท้า แขน ขา ลำตัวทำงานประสานกันได้ดีขึ้น

         3. ชอบเล่นการรุนแรง ผาดโผน ใช้ความเร็วและออกแรงมาก ควรให้เล่นเครื่องเล่นสนาม เช่น โหนชิงช้า โหนราวไต่เหวี่ยงตัว และฝึกให้เล่นยินนาสติก ว่ายน้ำ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกความกล้า และการตัดสินใจ พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่

         4. มีจินตนาการ ชอบสมมติเป็นเรื่องราวแสดงท่าทางประกอบเรื่อง หรือเล่นบทบาทสมมติ เช่น เล่นเกี่ยวกับบ้าน พ่อแม่ลูก เกี่ยวกับร้านขายของ ชอบเล่นเลียนแบบ และการเล่นสร้างสรรค์ ชอบท่าทางประกอบเพลงหรือกิจกรรมเข้าจังหวะ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาการด้านอารมณ์สังคมและสติปัญญา

         5. สามารถเล่นและทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ควรให้เล่นเกมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เช่น มอญซ่อนผ้าทำตามผู้นำ และให้เล่นเกมแข่งขัน เช่น วิ่งเปี้ยว

         6. ของเล่นที่ควรจัดหาให้เด็กวัย 3-6 ปี ได้แก่
              6.1เครื่องเล่นสนาม เช่น ชิงช้า ราวไต่แบบโค้ง บันไดหรือราวโหน ไม้ลื่น ไม่กระดก ไม้กระดานยาว ฝึกทรงตัว อุโมงค์ บ่อทราย
             ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวให้คล่องแคล่ว ฝึกการทรงตัวให้มั่นคง พัฒนากล้ามเนื้อ
              6.2    เครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ เช่น รถจักรยาน 3 ล้อ
              6.3    ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น
                      - โดมิโน (ภาพต่อปลาย) เป็นภาพสัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ ตัวพยัญชนะ และคำ
                      - หนังสือภาพ หนังสือนิทาน เทปเล่านิทาน เพลง เทปเพลง
                      - ภาพชุดเหตุการณ์ ชุดละ 4-5 ภาพ
              ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกต  เปรียบเทียบ รู้จักชื่อเรียกสิ่งต่างๆ รู้จักพยัญชนะ รู้จักคำ ฝึกการฟัง พูด และการเรียงลำดับเรื่องราว
              6.4  ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น
                       - โดมิโน จุด / ตัวเลข
                       - กระดานจำแนกจำนวน
                       - กระดานตัดต่อภาพสัตว์ ผลไม้ สิ่งของเรียงขนาด
                       - กระดานตัดต่อรูปทรง
                       - กล่องหยอดบล็อกรูปทรง
              ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:   ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดลำดับ และเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
               6.5 ของเล่นให้รู้ตักสิ่งต่างๆ และฝึกการสังเกตเปรียบเทียบเช่น
                       - กระดานเปรียบเทียบสี กล่อง หยอดสี
                       - กระดานเปรียบเทียบความเหมือนความต่างและหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
                       - ภาพตัดต่อ (6-20 ชิ้น)
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการจำ และเรียกชื่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง รู้จักสีรูปร่างลักษณะ
               6.6  ของเล่นฝึกการใช้ประสาทสัมพันธ์ ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็กจะได้ตอก ต่อ หยอด กด ร้อย ปักเย็บ ผูก เกี่ยว รูด เช่น
                      - กระดานซ้อนตอก
                      - กระดานปักหมุด
                      - ลูกปัดเม็ดโต ๆ ใช้เชือกและเข็มไม้ร้อยได้
                      - กรอบผ้าฝึกติดกระดุม รูดซิบ ผูกโบว์ ผูกเชือก
                      - ขวดและอ่างใส่น้ำไว้กรอกไส่ขวด
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน
               6.7 ของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อเล็กใหญ่ ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็ก กำ บีบ เขย่า เคาะ ตี เตะ ดึง ลาก จูง ไถ โยน ผลัก เลื่อน เช่น
                      - ของเล่นที่ใช้ตี เช่น กลองแบบต่างๆ
                      - เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะ/เขย่า
                      - ลูกบอลขนาดใหญ่แต่เบา และขนาดกลาง
                      - ถุงถั่ว ถุงทราย
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา กล้ามเนื้อ นิ้ว มือ  แขน ขา ลำตัวให้แข็งแรง หยิบจับสิ่งต่างๆ ได้มั่นคง และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ฝึกการฟังเสียง และการเคลื่อนไหวตามจังหวะ
               6.8  ของเล่นที่ให้เล่นเลียนแบบและสมมติตามจินตนาการเช่น
                     - ของเล่นจำลอง เช่น เมือง ฟาร์ม หมู่บ้าน บ้าน ทหาร สวนสัตว์ เครื่องเรือน  เครื่องครัว และของใช้ต่างๆ
                     - ชุดเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้ เช่น เครื่องแบบ ทหาร ตำรวจ หมอ นางพยาบาล ลูกเสือ กระเป๋า รองเท้า เครื่องแต่หน้าที่ใช้ หมดแล้ว
                     - ตุ๊กตาและหุ่น
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาการรับรู้ ความคิดฝันและเลียนแบบจากของจริง ทำให้เด็กรู้จักปรับสิ่งใหม่ให้เข้ากับสิ่งที่คุ้นเคย หรือรู้จักแล้ว คิดและเข้าใจตามที่เป็นจริง
               6.9 ของเล่นที่ให้เล่นสร้างและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น
                     - พลาสติกสร้างสรรค์/กล่องไหวพริบ
                     - ไม้บล๊อกขนาดและรูปทรงต่างๆ
                     - กล่องกระดาษขนาดต่างๆ
                     - วัสดุที่ใช้ในการวาดภาพ ระบายสี เช่น กระดาษ ดินสอสี สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ พู่กัน
                     - วัสดุที่ใช้ในการปั้น เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน
                     - วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ เช่น กรรไกร แป้งเปียก กระดาษ ใบไม้ เศษผ้า ถุงกระดาษมีก้นกว้างๆ
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสร้างตามโครงร่างที่กำหนดให้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่เด็กสนใจทำให้เด็กได้
ทดลองด้วยตนเองแบบลองผิดลองถูก เข้าใจ ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ คิดอย่างมีเหตุผล และรู้จักกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ
โดยไม่มีใครสอนรวมทั้งถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในความคิดออกมาเป็นรูปที่มองเห็นได้
                 6.10  ของเล่นที่ส่งเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างกลไกของเล่น เช่น
                       - ของเล่นที่เคลื่อนที่ได้ด้วยแรงลมไขลาน ใช้แบตตารี่ และมีเครื่องบังคับต่างๆ อาจมีไฟและเสียงด้วย
                       - ของเล่นลอยน้ำแบบต่างๆ ทำด้วยยาง
                       - ลูกโป่ง
                       - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบง่ายๆ
                ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ส่งเสริมความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กอยากรู้ อยากเห็นและสนใจสร้างสิ่งใหม่ ๆ รู้จักโครงสร้างและการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ
                6.11  ของเล่นที่ฝึกการแก้ปัญหาและกล้าแสดงออก ซึ่งเป็นของเล่นในการเล่นเกมต่างๆ เช่น
                       - เสือตกถัง
                       - หมากฮอส
                       - หมากเก็บ
                       - อีตัก
                ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกความกล้าเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่ รู้จักสำรวจและทดลอง เข้าใจปัญหาได้รวดเร็ว รู้จักคิดตัดสินใจ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และฝึกการใช้ ประสาทด้านต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย

แนวทางการจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย

การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน นอกจากจะทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ประโยชน์ที่แฝงมากับการเล่นที่สำคัญ คือ เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โลกและชีวิต ตลอดจนเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทุกๆ ด้านของเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งนำไปสู่การปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม และทัศนคติ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของเด็กในวัยต่อๆ มาด้วย

ลักษณะพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
เด็ก แต่ละวัยจะมีการเล่นที่แตกต่างกันไปตามระดับพัฒนาการและประสบการณ์ที่เด็ก ได้รับจากสภาพแวดล้อม พฤติกรรมการเล่นของเด็กมีการพัฒนาไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องตามวุฒิ ภาวะและความพร้อมทั้งทางร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก รวมทั้งการเล่นแบบง่ายๆ เพียงลำพังคนเดียวไปสู่การเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้นและรู้จักเล่นร่วมกับผู้ อื่นมากขึ้น ดังนี้

พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0 - 1 ปี เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด - 3 เดือน จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสาย ตา ฝึกการมองเห็นและการฟังได้สังเกตความเคลื่อนไหว เมื่อเด็กสามารถบังคับใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนแขน - ขา - มือ เด็กจะชอบคว้าจับและสนใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ของเล่นที่เด็กชอบ คือ ของที่ถือได้มีสีสดใสและมีเสียง เด็กจะชอบเอาของเล่นเข้าปาก จึงต้องระมัดระวังเรื่องของความปลอดภัย จนเมื่อเด็กเริ่มนั่งได้และหยิบจับด้วยนิ้วได้คล่องขึ้น เด็กจะชอบหยิบจับผลักของเล่นไปมา และสนใจค้นหา สิ่งที่ปิดซ่อน ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้มือและเข่าคลานค้นหาสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง นอกจากนี้เด็กจะชอบฟังเสียงของคำและจังหวะกระแทกๆ ของการเน้นคำด้วยเสียงต่ำ การเล่นร้องบทกลอนง่ายๆ ล้อเลียนเด็กพร้อมกับการแสดงสีหน้าท่าทางด้วยจะทำให้เด็กรู้จักเลียนเสียง ที่ฟังสนุกกับการฟังเสียงของคำสัมผัสและจำคำง่ายๆ ได้ในเวลาต่อมา

พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้าง แม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง ทำให้ได้เรียนรู้ถึงระยะทาง และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้องต่างๆ ของเล่นควรเป็นกล่องกระดาษมีเชือกร้อยต่อกัน เด็กจะสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่พบเห็น ชอบปีนป่ายขึ้นบันได มุดใต้โต๊ะ เป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวซึ่งยังต้องการช่วยดูแลความปลอดภัยจากผู้ใหญ่ นอกจากนี้ เด็กชอบเล่นน้ำ เล่นทราย เป็นการพัฒนาความรู้สึกในการสัมผัส และฝึกการใช้กล้ามเนื้อ นิ้วมือ มือ แขน การหาของเล่นอ่อนนุ่มหรือทำด้วยพลาสติกที่ปลอดภัยในเด็กได้ถือจับและโยนเล่น จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อเด็กได้ดี

พฤติกรรการเล่นของเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมากๆ ไม่ว่าจะเป็นวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย ม้วนกลิ้ง เตะ ขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหว กระฉับกระเฉงขึ้น สำหรับกล้ามเนื้อเล็กมีการควบคุมได้ดีขึ้น เด็กสามารถเล่นของเล่นที่ใช้นิ้วมือหยิบจับหรือหมุนได้ ประเภทภาพตัดต่อ ภาพต่อปลาย ไม้บล๊อกหยอดกล่องรูปทรงกระดานหมุดฆ้อนตอก เด็กจะชอบเล่นอิสระและเลียนแบบท่าทางของคนและสัตว์ การเล่นบทบาทสมมติจำลองสถานการณ์ต่างๆ ด้วยของเล่นที่เหมือนของจริงช่วยสร้างเสริมจินตนาการให้กับเด็กได้ แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้เด็กสนใจฟังนิทาน เรื่องเล่า และดูหนังสือภาพ ชอบแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวต่างๆ และเคลื่อนไหวตามจังหวะเสียงเพลง ในช่วงวัยนี้เด็กเริ่มเล่นกับเด็กอื่นมากขึ้นและทำงานเป็นกลุ่มได้

พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้น ชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม และเครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ สามารถเล่นของเล่นที่ใช้มือจับได้ดีขึ้น เด็กพอใจจะเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มมากขึ้น ชอบเลียนแบบชีวิตในบ้านและสังคมแวดล้อม โดยการแสดงบทบาทสมมติเป็นเรื่องราวมากขึ้น และมีการกำกับบทบาทของเพื่อนเล่น ชอบฟังนิทาน โคลงกลอน ปริศนาทายคำ ช่างซักถามและตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในเชิงเหตุผล ชอบทดสอบทดลองด้วยตนเอง สนใจตัวหนังสือและเขียนชื่อตัวเอง เขียนตัวเลขได้ และรู้จักนับ รู้จักเปรียบเทียบ ทำให้สามารถเล่นจำแนกสิ่งต่างๆ ได้ ชอบวาดภาพระบายสี ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ตลอดจนสามารถเล่นเกมที่มีกติกาง่ายๆ ได้

การจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเล่นและของเล่นที่จัดให้เด็กปฐมวัย ควรส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นอย่างเสรีตามความต้องการและความสนใจของเด็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นอย่างเสรีตามความต้องการและความสนใจของเด็ก ตลอดจนมีการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการเล่นที่เหมาะสมกับลักษณะพฤติกรรมการเล่น และความสามารถตามวัยของเด็ก โดยจัดให้มีบริเวณที่เล่นที่กว้างขวางและปลอดภัย รวมทั้งมีการสนับสนุนการเล่นโดยการสังเกต หรือเข้าไปมีส่วนร่วมเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการเล่นของเด็ก และจัดหาอุปกรณ์ของเล่นที่เหมาะสม ดังนี้

กิจกรรมการเล่นของเล่นสำหรับเด็กวัย 0 - 1 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการกระตุ้นประสาทสัมผัสให้เกิดการรับรู้และตอบสนอง สิ่งเร้ารอบตัวจากผู้อยู่ใกล้ชิดที่คอยดูแลสัมผัส โอบอุ้ม พูดคุย หยอกล้อเล่น และชี้ชวนให้ดูสิ่งต่างๆ รอบตัว กิจกรรมการเล่นที่ควรจัดให้ เป็นการเล่นหยอกล้อเด็กด้วยคำคล้องจอง มีการแสดงสีหน้าท่าทางและใช้เสียงสูงๆ ต่ำๆ ให้เด็กสนใจ เช่น การเล่นปูไต่ การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นจับปูดำ การเล่นซ่อนหาของ เป็นต้น ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้ ได้แก่ โมบายตะเพียน ของเล่นเขย่าหรือบีบให้เกิดเสียง ตุ๊กตาผ้ารูปสัตว์ ลูกบอลผ้า เป็นต้น

กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็ก 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ และมีการกระทำซ้ำๆ แบบลองผิดลองถูกกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย กิจกรรมการเล่นที่ควรจัดให้การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน - ทราย - น้ำ การหยิบของตามคำบอก การเล่นขว้างปา หรือตอกของเล่นที่ไม่แตกหัก การขีดเขียนลากเส้นไปมาเป็นต้น ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้ ได้แก่ ของเล่นที่ลากจูงได้ ลูกปัดสีขนาดใหญ่และเชือกร้อย ลูกบอล กล่องกระดาษขนาดต่างๆ ภาพตัดต่อง่ายๆ ตุ๊กตาที่ทำจากวัสดุนุ่ม กระดานหมุดฆ้อนตอก ของเล่นไขลาน ของเล่นที่ใช้ตักตวง น้ำ - ทราย และหนังสือรูปภาพต่างๆ

กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการสังเกต เลียนแบบและซักถามทำความรู้จักกับสิ่งต่างๆ รอบตัวจากผู้ใหญ่ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในการสื่อความหมายกับผู้อื่น กิจกรรมการเล่นที่ควรจัดให้เป็นการเล่นสร้างสรรค์ที่ให้เด็กใช้จินตนาการและ ความคิดสร้างสรรค์ ออกมาเป็นการแสดงบทบาทสมมุติ หรือผลงานทางศิลปะ เช่น การเล่นเป็นพ่อแม่ การเล่นขายของ การเล่นเป็นตัวละครในการ์ตูน การเล่นสร้างงานศิลปะ เป็นต้น ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้ ได้แก่ ของเล่นเลียนแบบของจริง ภาพตัดต่อ ดินน้ำมัน อุปกรณ์ศิลปะ ของใช้ในบ้านจำลองพลาสติกสร้างสรรค์ ไม้บล๊อก และหนังสือนิทาน

กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายความเข้าใจกับผู้อื่น และการใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ กิจกรรมการเล่นที่ควรจัดให้เป็นการเล่นที่เด็กสามารถสะท้อนความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เช่น การวาดภาพและเล่าเรื่องราว การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นที่ใช้ทักษะการสังเกต เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ การเล่นเกมง่ายๆ เป็นกลุ่ม การแต่งเรื่งอและเล่นบทบาทสมมติ การเล่นสร้างงานศิลปะ และการเล่นเกมการศึกษาหรือเกมแข่งขันง่ายๆ ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้ ได้แก่ ของเล่นสร้างสรรค์ ตัวต่อประเภทต่างๆ เกมที่มีกติกาง่ายๆ ไม้บล๊อก และหนังสือนิทาน

หลักการเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
ของ เล่นเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในการเล่นของเด็กที่ช่วยดึงดูดความสนใจในการ เล่นให้กับเด็ก ของเล่นที่ตีอาจเป็นวัสดุสิ่งของที่มีอยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของเด็กก็ ได้ นอกเหนือจากของเล่นที่ต้องซื้อหาในท้องตลาด ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมกับความสนใจตามวัยของเด็กเป็น สำคัญ หลักเกณฑ์ในการเลือกของเล่นที่ควรคำนึงถึงมี 4 ประการ ดังนี้
ความปลอดภัยในการเล่น ของเล่นสำหรับเด็กอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะ ที่ไม่มีอันตรายเกี่ยวกับผิวสัมผัสที่แหลมคม หรือมีชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษภัยต่อเด็กในสีที่ทา หรือส่วนผสมในการผลิต มีขนาดไม่เล็กเกินไปจนทำให้เด็กกลืนหรือหยิบใส่จมูกหรือเข้าปากได้ รวมทั้งมีน้ำหนักพอเหมาะที่เด็กสามารถหยิบเล่นได้
ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็ก ให้อยากรู้อยากเห็น มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการที่จะเล่นอย่างริเริ่ม สร้างสรรค์ หรือแก้ปัญหา ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวและการใช้มือได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังเสริมสร้างการพัฒนาการประสาทมือและตาให้สัมพันธ์กัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนอ่าน - เขียน - คิดเลขต่อไป
ประสิทธิภาพในการใช้เล่น ของเล่นที่เหมาะสมในการเล่นควรมีความยากง่ายเหมาะกับระดับอายุ และความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก ของเล่นที่ยากเกินไปจะบั่นทอนความสนใจในการเล่นของเด็ก และทำให้เด็กรู้สึกท้อถอยได้ง่าย ส่วนของเล่นที่ง่ายเกินไปก็ทำให้เด็กเบื่อไม่อยากเล่นได้ นอกจานี้ของเล่นควรทำให้เด็กได้ใช้ประสบการณ์ตรงและเกิดการเรียนรู้ด้วยตน เอง มีความแข็งแรง ทนทาน และปรับเปลี่ยนดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้หลายโอกาส หลายรูปแบบ หรือเล่นได้หลายคน
ความประหยัดทรัพยากร ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีตรา เครื่องหมายของบริษัทที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมทั่วไป หากแต่เป็นของเล่นที่สามารถจัดหาได้ง่าย มีราคาย่อมเยา หรือทำจากวัสดุที่หาได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ของเล่นเสริมสร้างทักษะและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ของ เล่นเป็นสื่อกลางการเรียนรู้ของเด็ก การเลือกเล่นของเล่นให้เด็กนอกจากตรงกับความสนใจและเหมาะสมกับวัยของเด็ก แล้ว  ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของของเล่นที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อการเรียน รู้ของเด็กด้วย ทั้งนี้ ของเล่นที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องของเล่นราคาแพง ทันสมัย ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด อาจดัดแปลงโดยใช้วัสดุท้องถิ่นหรือประดิษฐ์ได้เองจากวัสดุเหลือใช้ก็ได้ เพียงแต่ให้มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการและเรียนรู้ของเด็กในด้านต่างๆ ตัวอย่างของเล่นที่เสริมสร้างทักษะและการเรียนของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
ของเล่นที่ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว และพัฒนาการกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนามประเภทเสาชิงช้า ราวโหน ไม้ลื่น ไม้กระดาน อุโมงค์ บ่อทราย เครื่องเล่นที่มีล้อเลื่อนได้ เป็นต้น
ของเล่นที่พัฒนากล้ามเนื้อนิ้วมือ แขน ขา เช่น ของเล่น ประเภทบีบ เป่า ตี เตะ ดึง โยน ผลัก เลื่อน กลองใช้ตี ลูกบอล ถุงถั่ว เครื่องดนตรีชนิดเขย่า เป็นต้น
ของเล่นที่ฝึกทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน เช่น ของเล่นประเภทตอก กด ตี ปัก เย็บ ผูก กระดานปักหมุด ผูกเชือก ผูกโบว์ กรอกน้ำใส่ขวด เป็นต้น
ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาและพยัญชนะ เช่น ภาพสัตว์ ผลไม้ ตัวพยัญชนะ เช่น ภาพสัตว์ ผลไม้ ตัวพยัญชนะ เทปเพลง หนังสือภาพ เป็นต้น
ของเล่นที่ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดอันดับ ขนาดรูปร่างตัวเลข เช่น โดมิโน กระดานต่อภาพ กล่องหยอดบล๊อกต่างๆ เป็นต้น
ของเล่นที่ฝึกความจำ เรียกชื่อสิ่งของ รู้จักสี รูปร่างลักษณะคุณสมบัติประโยชน์ เห็นความสัมพันธ์สิ่งของต่างๆ เช่น กระดานเปรียบเทียบสีกล่องหยอดรูปทรง ภาพตัดต่อ กระดานเทียบความเหมือนความแตกต่าง เป็นต้น
ของเล่นที่พัฒนาความคิดความฝัน เล่นเลียนแบบและสมมติจินตนาการ เช่น หมู่บ้าน บ้าน ทหาร เครื่องครัว ตุ๊กตา หุ่น ลูกเสือ กระเป๋า เป็นต้น
ของเล่นที่ฝึกความคิดสร้างสรรค์ สร้างความสนใจอยากทดลองคิดอย่างมีเหตุผล ลองผิดลองถูก เช่น ไม้บล๊อกชนิดต่างๆ กล่องไหวพริบ ดินน้ำมัน ดินเหนียว กระดาษ ดินสอสี กระดาษวาดภาพระบายสี ใบไม้ เศษเชือก เป็นต้น
ของเล่นที่เสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ เด็กอยากรู้อยากเป็นสนใจสิ่งใหม่ๆ เช่น ของเล่นที่เคลื่อนได้ ไขลานได้ มีไฟและแสงหรือเสียงด้วยของลอยน้ำ ลูกโป่ง เป็นต้น
ของเล่นที่ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและใช้สมาธิ ทำให้เด็กได้ใช้ความคิด รู้จักลองผิดลองถูก มีความพยายามทำให้เกิดความสำเร็จ เช่น ภาพตัดต่อ ของเล่นชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นสิ่งต่างๆ เกมค้นหาชิ้นส่วนที่หายไป เป็นต้น

ที่มา   http://www.kidsradioclub.or.th/index.php