วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ดูดีๆก่อนเลือกกันนะคะ

การเล่นและของเล่นที่เสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
อายุ 0-2 เดือน

การเล่นและของเล่น:  ยังเล่นไม่เป็น  สามารถตอบสนองต่อเสียงและหันศีรษะหาเสียง  ควรพูดคุย   หรือร้องเพลงเห่กล่อม
ประโยชน์ของเล่นเด็ก :  กระตุ้นการรับรู้เสียงและประสาทสัมผัส
อายุ 2-2.5 เดือน
การเล่นและของเล่น
  1. ชอบจับตาดูของที่เคลื่อนไหว  ควรแขวนของเล่นที่มีสีฉูดฉาดและมีเสียงไว้ให้ดู  ในระยะ
    ไม่เกิน 8 นิ้ว เช่น โมบายปลาตะเพียน เศษผ้าสีต่างๆ มีกรุ๋งกริ๋งที่ปลาย ไม้ไผ่ทาสีผูกเรียงใกล้ ๆ กัน และมีเสียงเวลาลมพัด
    ประโยชน์ของเล่นเด็ก : กระตุ้นการใช้สายตา และการฟังเสียง
      2. เล่นกับมือของตัวเอง รู้จักขยำนิ้วมือเล่น ควรหาของเล่นที่มีสีสดใส และมีเสียงกรุ๋งกริ๋งใส่ในมือเด็ก เช่น ลูกเขย่ากลม ๆ ข้างในมีเสียงกรุ๋งกริ๋ง เวลาที่ขยับไปมาเด็กจะชอบมาก
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก : ฝึกฟังเสียงสังเกตว่าเมื่อเคาะหรือเขย่าเสียงจะดังและทำให้เด็กสนใจดูมือช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้มือ
กับสายตาพัฒนาไปเร็วขึ้น
อายุ 2.5-3 เดือน
การเล่นและของเล่น
       1.  ชอบเล่นปัดวัตถุที่มองเห็นและมือยื่นไปถึง ของเล่นควรเป็นลูกบอลนิ่มๆ แขวนไว้เหนือเปลหรือเตียงให้ห่างจากตาประมาณ 10 นิ้ว เวลา เด็กต่อยหรือปัดไปมา ถ้ามีเสียงด้วยยิ่งดี
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกสายตากับการใช้มือให้สัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น และฝึกสังเกตเสียงที่ได้ยินเวลาลูกบอลถูกปัดไปมา

อายุ 3-4 เดือน
การเล่นและของเล่น

      1. ชอบเล่นและจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัว ของเล่นควรเป็นแบบคานมหาสนุกซึ่งไม่แกว่ง หรือโยนตัวหนีเด็กไปอีกทาง เพื่อไม่ให้เด็กหงุดหงิด
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกให้เด็กใช้มือจับสิ่งต่างๆ และสังเกตด้วยการสัมผัส ได้ความรู้สึก แข็ง นิ่ม

อายุ 4-6 เดือน
การเล่นและของเล่น
       1. อยากดู อยากยื่นแขนออกไปแตะและจับวัตถุต่างๆ มากขึ้น ควรหาของต่างๆ ให้เด็กดู และจับมาก ๆ เช่น ตุ๊กตายางเป็นรูปต่างๆ มีผิวหยาบแต่ นุ่มนิ่ม ลูกบอลทำด้วยผ้าสำลี หรือผ้าลื่นๆ ถ้ามีเสียงดังเวลาที่กำบีบ เขย่าเด็กยิ่งชอบ ของเล่นอาจเป็นกล่อง กระดาษแข็งสีต่างๆ บรรจุเมล็ดผลไม้ไว้ข้างในก็ได้ แต่สิ่งที่ให้เด็กจับต้องเป็นวัตถุที่ไม่มีพิษภัย หรือเป็นอันตรายเมื่อเด็กเอาใส่ปาก
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้มือ นิ้วมือ หยิบจับสิ่งต่างๆ ได้ ความรู้สึกหยาบ แข็ง นิ่ม ลื่น และฝึกสังเกตฟังเสียง
       2.  ชอบเล่นน้ำเวลาอาบน้ำ  ควรให้ของเล่นที่ลอยน้ำได้ เช่น  ตุ๊กตาทำด้วยยางหรือ พลาสติก ลูกบอลใส ๆ มีของอยู่ข้างในและมีเสียงเวลาน้ำกระเพื่อม
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้มือ นิ้วมือ หยิบจับสิ่งต่างๆ สังเกตการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ลอยน้ำได้


อายุ 6-8 เดือน
การเล่นของเล่น


        1. รู้สึกคันเหงือกเมื่อฟันใกล้ขึ้น ควรให้ยางหรือพลาสติกสำหรับกัด อาจใช้ผักสดชิ้นโต ๆ ก็ ได้ เช่น แตงกวา คว้านเมล็ดออก ล้างให้สะอาด
        ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ช่วยให้เด็กคลายคัดเหงือกได้ ยิ่งคัดมากยิ่งอยากใช้เหงือกย้ำ ทำให้เหงือกแข็งแรง
        2. ชอบเล่นกับเงาตัวเองในกระจก เล่นจ๊ะเอ๋ หรือซ่อนหา ของเล่นอาจเป็นพลาสติกในแบบกลอกกลิ้งลูกแก้ว
        ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตและเคลื่อนไหวสายตา

        3. ชอบเล่นลิ้นชัก เล่นกระดาษ และฉีกกระดาษ
        ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้มือ นิ้วมือให้คล่องแคล่วขึ้น

        4.   ชอบเสียงกระทบกัน ของเล่นควรเป็นของไม่แตก และทำให้เกิดเสียงดังได้ เช่น ของเล่นไขลานเดินได้ หมุนได้ มีเสียง
         ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตและเคลื่อนไหวสายตา ขณะที่ของเล่นไขลานเคลื่อนที่
อายุ 8-9 เดือน
การเล่นของเล่น

        1. ชอบโยกตัวเป็นจังหวะเวลาได้ยินเสียงเพลงควรเปิดเพลงให้เด็กฟัง
         ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกฟังเสียงและจังหวะเพลง

        2. ชอบจับต้องสิ่งของต่างๆ สนใจในเรื่องน้ำหนัก รูปร่าง พยายามนำสิ่งของต่างๆมารวมเข้าด้วยกันและจับแยกออกของเล่นควรเป็นวัสดุที่ทำเป็นรูปต่างๆ
อาจเป็นกล่องกระดาษแข็งสีต่างๆ บรรจุเมล็ดผลไม้ หรือก้อนกรวดไว้ข้างใน
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก :   ฝึกการสังเกตรูปร่างต่างๆ ถ้าหากวัสดุนั้นมีอะไรอยู่ข้างใน ก็จะจับเคาะ เขย่า ฝึกการฟังเสียงและรู้สึกถึงน้ำหนักของ
วัสดุนั้นด้วย

อายุ 9-10 เดือน
การเล่นของเล่น

       1. ชอบหยิบของเล็ก ๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ขอบเล่นรูและซอกต่างๆ ตามเก้าอี้ ของเล่นควรเป็นพวกกล่องหรือหีบเจาะรู้ไว้ข้างบน ใหญ่พอที่เด็กจะหยิบของชิ้นเล็ก ๆ เช่น หมุดไม้ หรือพลาสติกสีต่างๆ ใส่ลงไป
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้ปลายนิ้วหยิบใส่ กดลงไปในรูหรือช่องที่เจาะไว้บนกล่อง และฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน
       2. ชอบเล่นดึงเชือกที่ติดกับของเล่นทำให้ของเล่นเคลื่อนที่ได้
           ประโยชน์ของสนามเด็กเล่น:   ฝึกการใช้กล้ามเนื้อแขนและการเคลื่อนไหวสายตา


อายุ 10 เดือน –1 ปี
การเล่นและของเล่น


         1. ชอบเล่นตบแผละ และเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เล่นซนมาก ชอบรื้อของ
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก: ฝึกการใช้มือและแขน การสังเกตและส่งเสริมการเรียนรู้


อายุ 1-1.5 ปี
การเล่นและของเล่น
         1. เด็กจะสนุกกับสิ่งใหม่ ๆ ที่พบเห็น ชอบปีนป่ายขั้นบันได มุดใต้โต๊ะ เข้าไปใต้ตู้
           ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  เรียนรู้สิ่งต่างๆ ฝึกการเคลื่อนไหวให้ คล่องแคล่ว

          2. ชอบขว้าง ปา ตอก ถอดให้หลุด ของเล่นควรเป็นพวกกล่อง กระป๋อง ภาชนะต่างๆ ที่ไม่แตก ซึ่งมีรูปร่างต่างๆ หีบไม้ใหญ่มีล้อเลื่อนให้เด็กผลักเล่น ปีนขึ้นไปนั่ง หรือขว้างของลงไปในหีบและกระดานฆ้อนตอก
          ประโยชน์ของเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตด้วยการสัมผัส ลูบคลำ เรียนรู้รูปทรง และฝึกกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ แขน ขา ให้แข็งแรง ฝึกการกะระยะ และการใช้ตาและมือให้ทำงานประสานกัน
        
          3. เมื่อเด็กชอบเดิน ของเล่นควรเป็นประเภทที่ลากไปมาได้ เช่น ขบวนรถไฟที่ทำด้วยไม้แล้วโยกเป็นคันๆ ได้
            ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการทรงตัวได้อย่างดีเมื่อเด็กหันมาดู บ่อยๆ ว่ารถที่ลากเล่นตามปกติหรือไม่ และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จเมื่อนำรถแต่ละคันมาต่อกันและลากไปมาได้

         4.  ชอบเล่นน้ำอย่างมาก มักเอามือตีน้ำ เทน้ำเล่น อาจนำขาดพลาสติกที่ตัด และเจาะรู้ให้น้ำไหลได้มาให้เด็กเล่น นอกจากนี้เด็กชอบทดลองทิ้งของต่างๆ ลงไปในน้ำเพื่อดูว่าอะไรบ้างลอยน้ำหรือจมน้ำ
          ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนาความรู้สึกในการสัมผัส  และทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าสิ่งของใดบ้างที่ลอยน้ำ หรือจมน้ำ

         5. ชอบเคลื่อนไหว มีความพยายามทำสิ่งยากๆ
            ประโยชน์เครื่องเล่นสนาม:  เป็นการควบคุมและฝึกกล้ามเนื้อและทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง


อายุ 1.5-2 ปี
การเล่นและของเล่น
       1. กระดานฆ้อนตอก
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว ช้า-เร็ว

       2. ของเล่นที่ลากจูงและผลักไปมาได้
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:์ ฝึกตาและมือให้ทำงานประสานกันและฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือ ข้อมือ

       3. ไม้บล็อกขนาดรูปร่าง ต่างๆ กันประมาณ 5-6 ชิ้น
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกสังเกตเรียนรู้การวางซ้อน

       4. หีบหรือกล่องซ้อนเป็นเถาหรือเป็นชุดอาจทำด้วยไม้ พลาสติกหรือกระดาษแข็ง ให้เด็กจับเรียงขนาดหรือซ้อนกัน เช่น ถ้วยพลาสติก หม้อเล็ก ๆ
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: วางเรียง และฝึกความคิดเปรียบเทียบขนาดรูปร่าง

       5. กล่องมีรู เป็นรูปต่างๆ ให้เด็กเลือกหยิบบล๊อกรูปทรงหย่อนลงรูตามรูปได้
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกตรูปทรง ฝึกการใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กัน

       6. ของเล่นที่เป็นภาพฉลุอยู่ในกรอบเป็นชุด ๆ เรียงลำดับตามขนาดใหญ่ไปเล็กหรือสั้นไปยาวและถอดออกเรียงใหม่ได้
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการสังเกตขนาด ความยาว และฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ
       7. ภาพตัดต่อ ประมาณ 3-6 ชิ้น เป็นรูปต่างๆ เช่น บ้าน สัตว์ อาจทำด้วยพลาสติก กระดาษแข็ง ให้เด็กนำมาเรียงกันโดยวิธีลองผิดลองถูก
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ ฝึกการคิด การจำ โดยต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
    
       8. ลูกปัดขนาดใหญ่สีต่างๆ มีเชือกเหนียว ๆ สำหรับร้อยลูกปัด
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตขนาด สี และฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน

       9. สัตว์ หรือตุ๊กตาหรือลูกบอลที่ทำด้วยวัสดุนุ่ม ๆ เช่น ผ้า ยาง ให้เด็กจับ ขยำเล่น หรือโยนเล่นแบบลูกช่วง
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนาความรู้สึกและการเรียนรู้ในการสัมผัส ฝึกการใช้สายตาประสานกับกล้ามเนื้อนิ้วมือ แขน ให้คล่องแคล่ว

       10. ตุ๊กตาว่ายน้ำได้เวลาไขลาน หรือบีบถุงลมแล้วกระโดดได้
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: เด็กสนุกต่อการสัมผัส การบีบพัฒนากล้ามเนื้อมือ ถ้าไขลานแล้วตุ๊กตาว่ายน้ำ ขยับแขนไปมาได้ หรือบีบในน้ำก็พุ่งกระโดดได้เด็กยิ่งสนใจ
       11.  ของเล่นที่บีบจับแล้วมีเสียง หรือทำให้เกิดเสียง
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: เด็กสนุกเมื่อบีบรัดแล้วเกิดเสียง ฝึกทั้งฟังเสียงและพัฒนากล้ามเนื้อมือ

       12. ขั้นบันไดอาจทำด้วยพลาสติกหรือไม้หรือเป็นหีบแข็งใบใหญ่ๆ ให้เด็กวางซ้อนเรียงเป็นบันไดหรือใช้เก้าอี้เตี้ยๆให้เด็กก้าวเล่น กระโดดขั้น –ลง
       ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้ทักษะการทรงตัว พัฒนากล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว

       13. ของเล่นที่ใช้ตักตวงทรายเล่นในบ่อทราย เช่น พลั่ว ช้อน ถัง ทำด้วยพลาสติก
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ  แขน

       14. หนังสือรูปภาพ มีภาพชัดเจน เหมือนของจริง
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกต รู้จักซื่อสัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ และฝึกพูดจากภาพ


อายุ 2-3 ปี
การเล่นและของเล่น
       1. เด็กเดินได้ตรงและยืนขาชิดกันได้มากขึ้น ควรให้เล่นเกี่ยวกับการทรงตัว และให้วิ่ง ปีนป่าย กระโดด เขย่งควบม้า
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

       2. ชอบเล่นของเล่นที่ออกแรงมาก ๆ เช่น ของเล่น ที่ดึงออกและใส่ใหม่ได้ ลูกบอลลูกโตๆ
แต่เบา ๆ สำหรับเล่นเตะและขว้าง เล่นกระดานฆ้อนตอก ขี่รถจักรยาน 3 ล้อ
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ คือ แขน ขา ฝึกการกะระยะ และฝึกการใช้สายตา มือ และเท้าให้ทำงานประสานกัน

        3. อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ควรให้เล่นของเล่นที่ใช้ประสาทสัมผัส เช่น ภาพตัดต่อย่างง่ายๆ ประมาณ 3-6 ชิ้น ภาพต่อปลาย (โดมิโน) กล่องหยอดบล๊อกรูปทรงต่างๆ และให้เล่นสร้างสิ่งต่างๆด้วยไม้บล๊อก
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกตและการเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ฝึกการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กันและฝึกความคิดสร้างสรรค์

        4. ชอบเล่นเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เช่นการแต่งตัว การทำงาน ควรหาของเล่นเป็นพวกตุ๊กตา มีเสื้อผ้าสวม-ถอดได้ ของใช้ในบ้านจำลอง เช่น หม้อข้าว หม้อแกง เตา กระทะ เตารีด ที่รองรีด โต๊ะเก้าอี้ เตียงนอนเล็ก ๆ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวเด็กกับบุคคลรอบ ๆ ตัวเด็ก และฝึกการเล่นเลียนแบบ

         5. ชอบเล่นคนเดียว และเริ่มเล่นกับเด็กอื่น แต่จะมีเรื่องทะเลาะกัน เช่น แย่งของเล่น ควรเริ่มสอน ระเบียบ วินัย จัดกิจกรรม ร้องเพลง และเล่านิทาน สอนเด็ก
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการเล่นเป็นกลุ่ม การควบคุมอารมณ์และระเบียบวินัย

         6.  ชอบเล่นของเล่นอื่น ๆ เช่นเดียวกับเด็กวัย 1 ?-2 ปี


อายุ 3-4 ปี
การเล่นและของเล่น
        1. เด็กวัยนี้กล้ามเนื้อใหญ่ที่แขน ขา แข็งแรงขึ้นควรส่งเสริมให้วิ่ง กระโดด ปีนป่าย
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรง เคลื่อนไหวกระฉับกระเฉงขึ้น
      
         2. การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเล็กที่มือดีขึ้น ควรให้เล่นของเล่นที่สวมเข้ากันได้ ดึงออกมาได้ และของเล่นที่หมุนเป็นเกลียว เล่นโยนรับของเบาๆ และควรฝึกให้ผูกเชือกรองเท้าติดกระดุมเสื้อเอง
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:   พัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้แข็งแรง ทำงานคล่องแคล่วขึ้น

        3. การทรงตัวดีขึ้น ควรฝึกเดินบนกระดานแผ่นเดียว เดินบนเส้นตรง ยืนขาเดียว ชอบการเล่นที่เพิ่มความรุนแรง พลิกแพลง และโลดโผน ควรฝึกให้รู้จักม้วนตัว กลิ้งตัว ปีนป่าย และกระโดดจากที่สูง
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการทรงตัวให้ดีขั้น ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเองความกล้า และการตัดสินใจ

        4. ชอบการเล่นอิสระ การเล่นเลียนแบบลักษณะท่าทางของบุคคลและสัตว์ การเล่นสมมติกับตุ๊กตา การเล่นประกอบเรื่องหรือนิทาน การแสดงท่าทางประกอบเพลง หรือกิจกรรมเข้าจังหวะ และเริ่มสนใจการเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ กับเด็กอื่น ๆที่ใช้เวลาสั้น
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา

        5. ชอบเล่นของเล่นที่ยากมากขึ้น และของเล่นที่ทำให้ออกกำลังกายมากก ๆ เช่น เล่นเครื่องเล่น สนาม ได้แก่ ชิงช้า บันได ไต่ ไม้ลื่น บ่อทราย เล่นก่อสร้างสิ่งต่างๆ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง และพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ที่แขน ขา ให้แข็งแรง
อายุ 4-6 ปี
การเล่นและของเล่น

        1. การเจริญเติบโตของลำตัวท่อนบนช้า แขนและขายาว มือสั้น เท้าเจริญช้า ควรส่งเสริมให้ กระโดด กระโดดเชือก เขย่ง ปีนป่าย ฝึกให้เล่น ผาดโผน เล่นเกมที่เน้นการควบคุมความเร็วของร่างกาย เช่น เกมที่เล่นเป็นวงกลม เช่น การฟักไข่ บอลม้า เกมที่เกี่ยวกับการหนี เช่น ไล่จับ ไล่แตะ
        ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่  และฝึกทักษะการทำงานของร่างกาย  และกล้ามเนื้อ

        2. สายตาสามารถมองเห็นไกล ๆ สายตาและมือทำงานประสานกันได้รวดเร็วและดีขึ้น ควรให้เล่นกับลูกบอลใหญ่ ๆที่เบา ๆ ให้โยน เหวี่ยงวิ่งรับ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกให้สายตา มือ เท้า แขน ขา ลำตัวทำงานประสานกันได้ดีขึ้น

         3. ชอบเล่นการรุนแรง ผาดโผน ใช้ความเร็วและออกแรงมาก ควรให้เล่นเครื่องเล่นสนาม เช่น โหนชิงช้า โหนราวไต่เหวี่ยงตัว และฝึกให้เล่นยินนาสติก ว่ายน้ำ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกความกล้า และการตัดสินใจ พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่

         4. มีจินตนาการ ชอบสมมติเป็นเรื่องราวแสดงท่าทางประกอบเรื่อง หรือเล่นบทบาทสมมติ เช่น เล่นเกี่ยวกับบ้าน พ่อแม่ลูก เกี่ยวกับร้านขายของ ชอบเล่นเลียนแบบ และการเล่นสร้างสรรค์ ชอบท่าทางประกอบเพลงหรือกิจกรรมเข้าจังหวะ
         ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาการด้านอารมณ์สังคมและสติปัญญา

         5. สามารถเล่นและทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ควรให้เล่นเกมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เช่น มอญซ่อนผ้าทำตามผู้นำ และให้เล่นเกมแข่งขัน เช่น วิ่งเปี้ยว

         6. ของเล่นที่ควรจัดหาให้เด็กวัย 3-6 ปี ได้แก่
              6.1เครื่องเล่นสนาม เช่น ชิงช้า ราวไต่แบบโค้ง บันไดหรือราวโหน ไม้ลื่น ไม่กระดก ไม้กระดานยาว ฝึกทรงตัว อุโมงค์ บ่อทราย
             ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวให้คล่องแคล่ว ฝึกการทรงตัวให้มั่นคง พัฒนากล้ามเนื้อ
              6.2    เครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ เช่น รถจักรยาน 3 ล้อ
              6.3    ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น
                      - โดมิโน (ภาพต่อปลาย) เป็นภาพสัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ ตัวพยัญชนะ และคำ
                      - หนังสือภาพ หนังสือนิทาน เทปเล่านิทาน เพลง เทปเพลง
                      - ภาพชุดเหตุการณ์ ชุดละ 4-5 ภาพ
              ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสังเกต  เปรียบเทียบ รู้จักชื่อเรียกสิ่งต่างๆ รู้จักพยัญชนะ รู้จักคำ ฝึกการฟัง พูด และการเรียงลำดับเรื่องราว
              6.4  ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น
                       - โดมิโน จุด / ตัวเลข
                       - กระดานจำแนกจำนวน
                       - กระดานตัดต่อภาพสัตว์ ผลไม้ สิ่งของเรียงขนาด
                       - กระดานตัดต่อรูปทรง
                       - กล่องหยอดบล็อกรูปทรง
              ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:   ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดลำดับ และเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
               6.5 ของเล่นให้รู้ตักสิ่งต่างๆ และฝึกการสังเกตเปรียบเทียบเช่น
                       - กระดานเปรียบเทียบสี กล่อง หยอดสี
                       - กระดานเปรียบเทียบความเหมือนความต่างและหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
                       - ภาพตัดต่อ (6-20 ชิ้น)
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: ฝึกการจำ และเรียกชื่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง รู้จักสีรูปร่างลักษณะ
               6.6  ของเล่นฝึกการใช้ประสาทสัมพันธ์ ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็กจะได้ตอก ต่อ หยอด กด ร้อย ปักเย็บ ผูก เกี่ยว รูด เช่น
                      - กระดานซ้อนตอก
                      - กระดานปักหมุด
                      - ลูกปัดเม็ดโต ๆ ใช้เชือกและเข็มไม้ร้อยได้
                      - กรอบผ้าฝึกติดกระดุม รูดซิบ ผูกโบว์ ผูกเชือก
                      - ขวดและอ่างใส่น้ำไว้กรอกไส่ขวด
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกทักษะการใช้สายตาและมือให้สัมพันธ์กัน
               6.7 ของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อเล็กใหญ่ ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็ก กำ บีบ เขย่า เคาะ ตี เตะ ดึง ลาก จูง ไถ โยน ผลัก เลื่อน เช่น
                      - ของเล่นที่ใช้ตี เช่น กลองแบบต่างๆ
                      - เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะ/เขย่า
                      - ลูกบอลขนาดใหญ่แต่เบา และขนาดกลาง
                      - ถุงถั่ว ถุงทราย
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก: พัฒนา กล้ามเนื้อ นิ้ว มือ  แขน ขา ลำตัวให้แข็งแรง หยิบจับสิ่งต่างๆ ได้มั่นคง และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ฝึกการฟังเสียง และการเคลื่อนไหวตามจังหวะ
               6.8  ของเล่นที่ให้เล่นเลียนแบบและสมมติตามจินตนาการเช่น
                     - ของเล่นจำลอง เช่น เมือง ฟาร์ม หมู่บ้าน บ้าน ทหาร สวนสัตว์ เครื่องเรือน  เครื่องครัว และของใช้ต่างๆ
                     - ชุดเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้ เช่น เครื่องแบบ ทหาร ตำรวจ หมอ นางพยาบาล ลูกเสือ กระเป๋า รองเท้า เครื่องแต่หน้าที่ใช้ หมดแล้ว
                     - ตุ๊กตาและหุ่น
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  พัฒนาการรับรู้ ความคิดฝันและเลียนแบบจากของจริง ทำให้เด็กรู้จักปรับสิ่งใหม่ให้เข้ากับสิ่งที่คุ้นเคย หรือรู้จักแล้ว คิดและเข้าใจตามที่เป็นจริง
               6.9 ของเล่นที่ให้เล่นสร้างและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น
                     - พลาสติกสร้างสรรค์/กล่องไหวพริบ
                     - ไม้บล๊อกขนาดและรูปทรงต่างๆ
                     - กล่องกระดาษขนาดต่างๆ
                     - วัสดุที่ใช้ในการวาดภาพ ระบายสี เช่น กระดาษ ดินสอสี สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ พู่กัน
                     - วัสดุที่ใช้ในการปั้น เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน
                     - วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ เช่น กรรไกร แป้งเปียก กระดาษ ใบไม้ เศษผ้า ถุงกระดาษมีก้นกว้างๆ
               ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกการสร้างตามโครงร่างที่กำหนดให้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่เด็กสนใจทำให้เด็กได้
ทดลองด้วยตนเองแบบลองผิดลองถูก เข้าใจ ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ คิดอย่างมีเหตุผล และรู้จักกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ
โดยไม่มีใครสอนรวมทั้งถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในความคิดออกมาเป็นรูปที่มองเห็นได้
                 6.10  ของเล่นที่ส่งเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างกลไกของเล่น เช่น
                       - ของเล่นที่เคลื่อนที่ได้ด้วยแรงลมไขลาน ใช้แบตตารี่ และมีเครื่องบังคับต่างๆ อาจมีไฟและเสียงด้วย
                       - ของเล่นลอยน้ำแบบต่างๆ ทำด้วยยาง
                       - ลูกโป่ง
                       - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบง่ายๆ
                ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ส่งเสริมความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กอยากรู้ อยากเห็นและสนใจสร้างสิ่งใหม่ ๆ รู้จักโครงสร้างและการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ
                6.11  ของเล่นที่ฝึกการแก้ปัญหาและกล้าแสดงออก ซึ่งเป็นของเล่นในการเล่นเกมต่างๆ เช่น
                       - เสือตกถัง
                       - หมากฮอส
                       - หมากเก็บ
                       - อีตัก
                ประโยชน์ของเครื่องเล่นเด็ก:  ฝึกความกล้าเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่ รู้จักสำรวจและทดลอง เข้าใจปัญหาได้รวดเร็ว รู้จักคิดตัดสินใจ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และฝึกการใช้ ประสาทด้านต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน