วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นปลอดภัย สื่อรักษ์เพื่อลูก


รูปภาพของ ssspoonsak
ของเล่นปลอดภัย สื่อรักษ์เพื่อลูก [6 ธ.ค. 51 - 00:26]

วัยเด็กเป็นวัยแห่งจินตนาการ บางครั้งเราจะเห็นเด็กสามารถเล่นกับต้นไม้ใบหญ้าหรือสิ่งของรอบๆตัวเขาได้
ผู้ใหญ่เคยสงสัยหรือไม่ว่าของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กควรจะเป็นอย่างไร คำตอบที่ถูกต้องแบบคำตอบสุดท้ายคงไม่ได้มีเป็นหนึ่งเดียว แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปกครองอยากให้ลูกได้เล่นสนุกโดยมีของเล่นเป็นสื่อความ รักหรือเปล่า
เอกสารเผยแพร่ของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวว่า ของเล่นเด็กไม่ควรออกแบบให้เป็นของเล่นที่สำเร็จรูป เพราะเด็กจะนำของเล่นเหล่านั้นไปต่อยอดได้ด้วยจินตนาการของพวกเขาเอง ผู้ใหญ่จึงควรเป็นเพียงผู้เฝ้าสังเกต และคอยระวังอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับเด็กเท่านั้น รวมทั้งผู้ใหญ่นั้นจะต้องเป็นแบบอย่างการเล่นที่ดีให้กับเด็กด้วย เพราะเด็กจะมีพฤติกรรมการเลียนแบบ
เด็กจะมีพัฒนาการ 3 ส่วน คือ การเดิน การพูด และการคิด ดังนั้นการออกแบบของเล่น จึงต้องผสมผสาน แนวคิดหลายอย่างเข้าด้วยกัน การจะคิดออกแบบของเล่น จึงควรเน้นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด นั่นคือ ของเล่นควรออกแบบตามพัฒนาการในทุกระยะของเด็ก ทุกวัย และทุกเดือน ทุกปี หรือพูดง่ายๆ คือ การออกแบบของเล่นจำเป็นต้องเน้นที่ ความเป็นปัจจุบันของเด็ก นั่นเอง
ในเด็กทารกแรกเกิด จนถึง 7 ปี พ่อแม่ เป็นบุคคลสำคัญที่จะเป็นผู้เลือกและนำพาให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกทักษะในด้าน ต่างๆ ของเล่นจึงไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อน สวยงาม ราคาแพง ทั้งนี้ พ่อแม่อาจเป็นคนสร้างหรือทำของเล่นให้กับลูก และวัสดุที่เลือกใช้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน และสหกรณ์กรีนเนท จำกัด ได้จัดกิจกรรม “ของเล่นทำมือสื่อรักษ์เพื่อลูก” ทำขึ้นจากผ้าฝ้ายทอมือเพาะปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ สีขาว สีตุ่น และสีคราม (เกิดจากพืชล้มลุก “ต้นคราม”) ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองจำนวนหนึ่งในการทำของเล่นให้ลูกด้วยตนเอง
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา และมีความสนใจวิธีทำของเล่นเพื่อลูกรักจากผ้าฝ้ายทอมือ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิสายใยแผ่นดิน อีเมล์ thairaman@gmail.com


ที่มา: http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=114071

เลือก ของเล่นปลอดภัย ให้ลูกรัก



ข่าวอันตรายจาก ของเล่นปนเปื้อนสารตะกั่ว หรือจากของเล่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาจทําให้คุณแม่หลายท่านรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะกลัวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับลูกของเราเอง แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่าของเล่นคุณภาพ ที่ช่วยเสริมพัฒนาการลูกได้ ปลอดภัยด้วย มีอยู่ใกล้ๆ ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่จะเลือกหยิบเอาชิ้นไหน และปลูกฝังวิธีเล่นปลอดภัยให้ลูกอย่างไร
 
รู้จักคําว่า ‘ของเล่น’
     ของเล่นที่เราเข้าใจ หมายถึงของที่สร้างมาให้เด็กเล่นสนุก มักเป็นชิ้น เป็นชุด เป็นรูปแบบเฉพาะ แต่สําหรับเด็ก ของเล่น คือทุกอย่างที่อยู่ในมือ แม้แต่มือหรือเท้าของตัวเอง
     กระบวนการเรียนรู้ของเด็กประกอบด้วยสมอง ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเล่นทดลองสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น เล่นโยนลูกบอล เล่นเคาะถ้วยชาม เล่นปีนโต๊ะ เล่นทราย เล่นวิ่งไล่นก ต่างก็เป็นตัวช่วยทําให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง 3 ส่วนนี้ได้ ดังนั้น ปัญหาของเล่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่สําหรับครอบครัวคุณแม่ ยุคใหม่อีกต่อไป เมื่อเราสามารถเลือกของเล่นคุณภาพ จากสิ่งรอบตัวได้มากมาย
 
ของเล่นสําเร็จรูป
 โดย ทั่วไป ของเล่นสําเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาด มักจะมีผู้ให้คําแนะนําแล้วว่า ของเล่นชิ้นนี้เด่นในเรื่องการเสริมพัฒนาการด้านไหน ส่วนอีกชิ้นจะเด่นในเรื่องใด เช่น ตุ๊กตา เสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ การเล่นบทบาทสมมติ หนังสือผ้าช่วยสร้างสมาธิ จินตนาการ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน รถลางจูง ลูกบอล ช่วยเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทํางานประสานสายตา 
• หากคุณแม่มี ความเข้าใจพัฒนาการของลูก ว่าช่วงเวลานี้ควรเสริมทักษะด้านใด ลูกจะรู้สึกสนุกกับของเล่นชิ้นใดได้บ้าง แล้วเลือกซื้อของเล่นให้ตรงกับความต้องการ ไม่ซับซ้อนหรือเล่นง่ายเกินไป จะช่วยให้ของเล่นที่ซื้อมาได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าคุ้มราคา
 
เล่นปลอดภัย
• ระวัง ตั้งแต่การเลือกซื้อ ดูว่าเหมาะกับพัฒนาการตามวัยลูก มีชิ้นส่วนที่เล็กเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือไม่ ระวังเหลี่ยมมุมแหลมคม ปราศจากสารพิษเจือปน ทนมือลูกได้ดี การผลิตได้มาตรฐาน และมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์
 
ของเล่นจากธรรมชาติ
• ใน ช่วงแรกเริ่มของชีวิต เด็กๆ ควรได้รู้จักและสัมผัสกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ ทราย ดิน หิน หญ้า ของเล่นจากไม้ ฯลฯ ซึ่งของเล่นจากธรรมชาติเหล่านี้อาจทําให้ลูกมอมแมมไปบ้าง (ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเพียงแค่ ล้างหลังจากเล่นเสร็จแล้ว) แต่ลูกจะเรียนรู้ว่า เหยียบพื้นหญ้าไปแล้ว รู้สึกนุ่มๆ แต่ก็ไม่สบายเท้า ชื้นๆ ล้มแล้วก็ไม่เจ็บเท่าไร รู้ว่าน้ำทําให้เปียก มีทั้งร้อนและเย็น ทรายเป็นเม็ดเล็กๆ มีกองเล็ก มีกองใหญ่ และคิดต่อยอดว่าจะต้องเล่นอย่างไรจึงจะสนุก
• ลูก ได้จับ รับรู้ผิวสัมผัสที่แตกต่าง จมูกได้กลิ่น ใช้สายตามองดู เอียงหูฟังเสียง แม้กระทั่งเสียงเทน้ำไหลจ๊อกๆ หากคุณแม่ชี้ชวนให้ลูกตั้งใจฟัง การเทน้ำจากแก้วใบหนึ่งลงพื้น ก็เป็นของเล่นที่ทําให้ลูกได้เรียนรู้แล้วความใกล้ชิดนี้จะช่วยกล่อมเกลาจิต ใจลูกให้อ่อนโยน เข้าใจความเป็นมาเป็นไป รู้สึกรักและหวงแหนธรรมชาติ
 
เล่นปลอดภัย
• อันตรายจากของเล่นธรรมชาติมีน้อย เพราะปราศจากสารเคมีและสิ่งปรุงแต่ง
• ใช่ ว่าจะวางใจของเล่นจากธรรมชาติได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะทรายสามารถปลิวเข้าตาลูก ถ้าลูกไม่ได้เรียนรู้ว่า อย่าเททรายสูงเกินไป น้ำในอ่างอาจทําให้ลูกสําลักได้ แม้แต่หินก้อนเล็ก ลูกก็อาจหยิบเข้าปาก ติดคอได้ถ้าไม่รู้ว่าควรระวัง คุณแม่เป็นตัวช่วยแรกที่จะป้อนข้อมูลวิธีเล่นอย่างปลอดภัยให้กับลูกได้ และเลือกให้เหมาะกับวัย
 
ของเล่นในบ้าน
• บรรดา ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ที่นอนนิ่มๆ โต๊ะเก้าอี้ บันได ถ้วยชาม แก้วพลาสติก เครื่องใช้ในครัว ต่างเป็นของใช้ในชีวิตประจําวันที่เจ้าตัวเล็กสามารถแปรสภาพให้มันกลายเป็น ‘ของเล่น’ สําหรับเขาได้
• เด็กๆ จะได้ใช้จินตนาการ เล่นบทบาทสมมติ เอาแก้วเปล่าๆ มาเท ใช้ช้อนคน เลียนแบบการทําอาหารของคุณแม่ เอาหมอนหลายใบมากองสูงๆ สมมติว่าเป็นภูเขาไว้ปีนป่าย
• ของเล่นในบ้านจะกึ่งบังคับให้ลูกต้องใช้กระบวนการคิด หาวิธีสร้างสรรค์ความสนุกจากสิ่งของที่ดูธรรมดาๆ ให้สนุก
 
เล่นปลอดภัย 
• ของ ใช้ในบ้านไม่ได้ผลิตมาเพื่อการเล่นสําหรับเด็ก ดังนั้นการเล่นให้ปลอดภัย จึงเป็นหลักการเดียวกับการป้องกันอันตรายในบ้านนั่นเอง เช่น การลบเหลี่ยมมุมโต๊ะ ปิดปลั๊กไฟที่อยู่ในระดับที่ลูกเอามือแหย่ถึง พวกสารเคมีหรือของใช้ที่แตกหักง่ายอย่างชามแก้ว เซรามิคก็ควรเก็บให้พ้นมือลูกเสียก่อน
• ลูก วัยนี้มักชอบทดสอบกล้ามเนื้อมัดเล็กใหญ่ของตัวเอง พวกตู้ โต๊ะ ของเล่นชิ้นยักษ์สําหรับลูกก็ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ดี แต่คุณแม่ต้องทําความเข้าใจกับเขา ลูกปีนเก้าอี้ตัวใหญ่ได้ แต่ปีนเก้าอี้ติดล้อไม่ได้นะ และบอกเหตุผลว่าเพราะอะไร เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง  
 
ของเล่นทําเอง
• ลูก จะมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีขึ้น เมื่อได้กอดตุ๊กตาสัตว์นุ่ม และจะดีแค่ไหนหากตุ๊กตานั้นทําด้วยผ้าขนหนูจากฝีมือของคุณแม่ ที่แฝงความรักและความห่วงใย ใส่ลงไปทุกขั้นตอนการประดิษฐ์
• ของ เล่นทําเองได้แก่ หุ่นมือ ตุ๊กตาจากผ้า หนังสือทําเอง สมุดวาดภาพระบายสี แป้งโดว์ รถลากจูงจากขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ   นอกจากจะสร้างประสบการณ์ให้ลูกได้โดยไม่ต้องกระเป๋าฉีก ยังช่วยให้คุณแม่สร้างสรรค์ของเล่นได้ตรงกับความสนใจและพัฒนาการลูกด้วย
• อาจ จะให้ลูก ‘ช่วย’ ทําของเล่นด้วย ช่วยกันคิดช่วยกันทํา ออกแบบว่าอยากให้เป็นอย่างไร แม้จะไม่ใช่ของเล่นที่สวยงามหรือสมบูรณ์แบบ แต่มันก็จะเป็นของเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเจ้าตัวเล็ก
 
เล่นปลอดภัย
• ของเล่นทําเองได้เปรียบกว่าของเล่นประเภทอื่น ตรงที่
คุณ แม่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ วิธีการทํา เช่น การให้ลูกเล่นปั้นแป้ง คุณแม่ก็สามารถเลือกวัตถุดิบที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุดให้กับลูกได้ โดยไม่ลืมที่จะทําของเล่นตามพัฒนาการและความสนใจของลูกเป็นสําคัญ
• เมื่อคุณแม่สร้างของเล่นที่ปลอดภัยให้แล้ว อย่าลืมสอนลูกสังเกตความเปลี่ยนแปลงของของเล่นเหล่านั้นด้วย เช่น “ตอนนี้
รถ ลากล้อหลุดแล้ว หนูต้องบอกคุณแม่ให้มาช่วยหาทางซ่อมกันนะ ไม่อย่างนั้นไม้แหลมที่ยื่นออกมาตรงล้ออาจทิ่มตาหนูได้ถ้าไม่ระวัง” เป็นต้น
 
 
 
 
 
Tips

• การ สอนลูกเรียนรู้วิธีเล่นตามลําดับขั้น จากของเล่นที่อันตรายน้อย เช่น ให้ลูกลองแตะน้ำอุ่นในอุณหภูมิที่ลูกยังรับได้ เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่อันตรายกว่าคือ น้ำร้อน ว่าอาจทําให้ลูกมือพองผิวลอกและเจ็บได้ เป็นการสอนลูกให้รู้จักระวังอันตรายจากตัวอย่างที่สัมผัสได้จริง จะทําให้ลูกเชื่อ และจดจําได้ดีกว่าการสอนปากเปล่า

• การ เก็บของเล่นก็มีความสําคัญ ไม่สุมของเล่นลูกทั้งหมดไว้เป็นกองสูงและแน่น เพราะอาจเป็นอันตราย เลือกชั้นวางแบบเปิดจะปลอดภัยกว่าการเก็บในตู้ ป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปติดอยู่ในนั้น

• หมั่นสํารวจตรวจดูของเล่นอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีชิ้นส่วนไหนชํารุดเสียหายบ้าง

• ของ เล่นบางชิ้นที่เหมือนไม่ใช่ของเล่น และดูน่าจะมีอันตราย เช่น มีด กรรไกร เพราะเป็นของมีคม ลูกยังไม่มีข้อมูลเก็บไว้เหมือนผู้ใหญ่ว่าถ้าจับตรงด้านคมมันจะบาดมือ จึงอยากแนะนําให้ลูกได้มีโอกาส ‘ลองเล่น’ ดูบ้าง โดยคุณแม่เป็นผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ลูกจะได้เรียนรู้ว่าต้องจับมีดแบบไหน ถือกรรไกรอย่างไร มันถึงจะไม่บาดมือ หากลูกไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้วิธีเล่นที่ปลอดภัยเลย ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า

• ของ เล่นบางชิ้น เด็กบางคนเล่นได้ แต่เด็กบางคนเล่นแล้วอันตราย เพราะเด็กๆ มีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกัน เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องทําความรู้จักธรรมชาติของลูก ด้วยการเฝ้าดูลูกเล่น หมั่นสังเกตว่าลูกใช้ทักษะต่างๆ ได้คล่องหรือไม่ มีความสามารถทําอะไรได้บ้าง ก็จะช่วยให้วางแผนการเลือกของเล่นได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย