วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สื่อของเล่นเด็ก ห้องเล่น ห้องเรียน

งวดนี้ลัดคิวเป็นพิเศษให้ "คุณครู" ที่น่ารัก บอกว่าอยากได้วิธีทำ งานฝีมือจาก"กล่องนม"  กับ อยากได้งานประดิษฐ์สำหรับเด็ก ๆ อนุบาล  ก็เลยรีบรวบรวมไอเดียมาให้ลองดูค่ะ



เริ่มจากแบบง่าย ๆ ด้านบน เอามาดัดแปลงทำกล่องดินสอ ปากกา
อาจตกแต่งลวดลายให้น่ารัก เหมาะกับเด็ก ๆ หรือ จะให้เด็ก ๆ ทำเองก็ได้
ถ้าเด็กเล็ก เราอาจจะช่วยเรื่องการตัดกล่อง
แต่ถึงเวลาตกแต่งให้เค้าสร้างสรรค์ตามจินตนาการได้เลย
 

กล่องใส่อาหารสำหรับเลี้ยงนก
กระดาษที่ตัดออกมา (ตรงช่องที่เจาะเหนือหัวนกน่ะค่ะ)
เราเอามาพับครึ่งเป็นหลังคา  แล้วตัดปลายด้านึงพับลงเพื่อทากาวติดกับกล่อง

ตัดผ่ากล่องตามยาวำเรือก็ได้
หาหลอด กับ กระดาษ มาทำเสาธงเรือให้ดูเก๋ไก๋
อาจเอากล่องนมที่เล็กกว่าใส่ในตัวเรือ  เพื่อเสริมฐานเสาธงให้ดูโดดเด่น


ตัดกล่องนมขนาดใหญ่  มาทำที่วางของ
ตกแต่งให้สวยด้วยกระดาษสี ตามใจชอบ


ตัดไม่ยาก


พับกล่องแล้วทากาวก็เสร็จแล้ว

พอใช้ได้มั้ยคะ.. ทำง่าย ๆ แต่เผื่อบางทีลืมไปว่า อืม..ทำแบบนี้ก็ได้เนอะ  
ก็เลยรวม ๆ มาไว้ คราวนี้ก็แล้วแต่ไอเดียว่าจะตกแต่ง ดัดแปลงกันยังไง 


จะเอามาตกแต่งให้น่ารัก ไว้ให้เด็กใส่ของก็ได้
บางอย่างง่าย ๆ ก็ให้เด็ก ๆ ทำเอง หรือ มีส่วนร่วม
เพื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ และได้ความภูมิใจในฝีมือ   อันไหนยากก็ทำให้เด็กเล่น


เลียนแบบ บ่อน้ำในชนบท 
ไม่รู้จะยากไปมั้ย  แต่ทำแล้วก็เอามาเป็น สื่อการสอน ได้
ว่าบ่อน้ำลึก ๆ เค้าต้องตักน้ำขึ้นมาแบบนี้
(เพราะใส่น้ำได้จริง) ให้เด็ก ๆ ลองหมุน ๆ ดึงที่ใส่น้ำขึ้นมา (ทำจากฝาขวด)
ได้ทั้งสอนให้เด็กรู้คุณค่าของน้ำ แอบสอนการประหยัดน้ำ
เล่าถึงชีวิตคนในที่ ๆ ไม่มีน้ำประปา ว่าต้องเหนื่อยกับการหาน้ำ
ได้ความรู้รอบตัว  ปลูกจิตสำนึก  แต่สนุกสนาน



Credit : ห้องเล่น ห้องเรียน: สารพัดวิธี ดัดแปลง "กล่องนม" ไว้เล่นกับเด็ก http://playandcraft.blogspot.com/2010/11/blog-post_22.html#ixzz1ClbetY9G
Under Creative Commons License: Attribution

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อ วัสดุ ของเล่นจากธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย

                               สำหรับเด็กปฐมวัยสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างมาก  ในสภาพของสังคมไทย  เราสามารถหาสิ่งดังกล่าวได้จากธรรมชาติ และจากสภาพแวดล้อมรอบตัวซึ่งให้คุณค่ามากสำหรับเด็ก  สิ่ง
ดังกล่าวที่เป็นวัสดุธรรมชาติ  ได้แก่  ลูกไม้  กิ่งไม้  ใบไม้  เปลือกหอย   ก้อนหิน  ก้อนกรวด    หรือไม่ก็เป็นของเล่นที่รุ่น
ปู่ย่าตายายทำให้กับลูกหลานเล่น  ส่วนใหญ่จะเป็นของที่ทำจากวัสดุพื้นบ้าน   ตุ๊กตาทำจากเศษผ้า   ผ้าฝ้ายบางๆที่นำมา
ย้อมสีต่างๆ   สื่อ วัสดุ  อุปกรณ์  จากธรรมชาตินี้หาได้อย่างง่ายดายในสังคมเมืองไทย  เพราะมีอยู่ตามธรรมชาติโดยเฉพาะ
ในท้องถิ่นตามภูมิภาคของไทยเรา นอกจากมีผลดีเป็นอย่างมากในด้านการประหยัดแล้ว ยังทำให้เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ  การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของไทย  และที่สำคัญคือการส่งเสริมการนำสิ่งดังกล่าวมา

ลักษณะของกิจกรรมการพัฒนาทางภาษาในเด็กปฐมวัย

                            การสอนภาษาที่ได้ผลสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีการทดลองและการวิจัยในประเทศไทย
และมีการใช้ในหลายโรงเรียน  คือการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม  เป็นการเรียนรู้ซึ่งครู
ต้องเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  พัฒนาการดังกล่าว คือ การฟัง  พูด  อ่าน  และเขียน   โดยมี
กระบวนการคิดเป็นแกนสำคัญ  ภาษาที่เด็กใช้อยู่มาจากการคิดไม่ว่าจะเป็นการทักษะใดก็ตาม   ภาษา
จะต้องเริ่มจากการพัฒนาทางด้านความคิดก่อน  การพัฒนาภาษาแบบองค์รวมดังกล่าว  ครูและผู้เกี่ยว
ข้องมีความสำคัญต้องมีความเข้าใจและจัดกิจกรรมการพัฒนาทางภาษาที่มีลักษณะดังนี้
                             -  ครูสอนภาษาอย่างมีความหมายสำหรับเด็ก เช่น  การสอนอ่าน ให้เด็กได้รู้จักการใช้
หนังสือ  เปิดหนังสืออย่างถูกต้อง  เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย  ซักถามเกี่ยวกับหนังสือ
                             -   เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือ  ผ่านการเล่านิทาน  การ
สนทนาโต้ตอบ  คำคล้องจอง  เป็นต้น
                             -   มีหนังสือ   สิ่งพิมพ์ต่างๆ  ให้เด็กได้สัมผัส  ได้เลือกตามความสนใจและความ
ต้องการ
                             -   ให้เด็กได้สัมผัสกับการอ่าน  การเขียน  ในลักษณะต่างๆ   ด้วยความสนใจและ
ตามประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน  โดยไม่จำเป็นต้องถูกต้องทั้งหมด
                             -    การสอนอ่านมีทั้งการสอนอ่านทั้งกลุ่มย่อย  และกลุ่มใหญ่   มีสื่อที่เป็นหนังสือ
ที่เพียงพอ  และเหมาะสม  พร้อมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาทางภาษา
 

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของเล่นปลอดภัย สื่อรักษ์เพื่อลูก


รูปภาพของ ssspoonsak
ของเล่นปลอดภัย สื่อรักษ์เพื่อลูก [6 ธ.ค. 51 - 00:26]

วัยเด็กเป็นวัยแห่งจินตนาการ บางครั้งเราจะเห็นเด็กสามารถเล่นกับต้นไม้ใบหญ้าหรือสิ่งของรอบๆตัวเขาได้
ผู้ใหญ่เคยสงสัยหรือไม่ว่าของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กควรจะเป็นอย่างไร คำตอบที่ถูกต้องแบบคำตอบสุดท้ายคงไม่ได้มีเป็นหนึ่งเดียว แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปกครองอยากให้ลูกได้เล่นสนุกโดยมีของเล่นเป็นสื่อความ รักหรือเปล่า
เอกสารเผยแพร่ของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวว่า ของเล่นเด็กไม่ควรออกแบบให้เป็นของเล่นที่สำเร็จรูป เพราะเด็กจะนำของเล่นเหล่านั้นไปต่อยอดได้ด้วยจินตนาการของพวกเขาเอง ผู้ใหญ่จึงควรเป็นเพียงผู้เฝ้าสังเกต และคอยระวังอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับเด็กเท่านั้น รวมทั้งผู้ใหญ่นั้นจะต้องเป็นแบบอย่างการเล่นที่ดีให้กับเด็กด้วย เพราะเด็กจะมีพฤติกรรมการเลียนแบบ
เด็กจะมีพัฒนาการ 3 ส่วน คือ การเดิน การพูด และการคิด ดังนั้นการออกแบบของเล่น จึงต้องผสมผสาน แนวคิดหลายอย่างเข้าด้วยกัน การจะคิดออกแบบของเล่น จึงควรเน้นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด นั่นคือ ของเล่นควรออกแบบตามพัฒนาการในทุกระยะของเด็ก ทุกวัย และทุกเดือน ทุกปี หรือพูดง่ายๆ คือ การออกแบบของเล่นจำเป็นต้องเน้นที่ ความเป็นปัจจุบันของเด็ก นั่นเอง
ในเด็กทารกแรกเกิด จนถึง 7 ปี พ่อแม่ เป็นบุคคลสำคัญที่จะเป็นผู้เลือกและนำพาให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกทักษะในด้าน ต่างๆ ของเล่นจึงไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อน สวยงาม ราคาแพง ทั้งนี้ พ่อแม่อาจเป็นคนสร้างหรือทำของเล่นให้กับลูก และวัสดุที่เลือกใช้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อเร็วๆนี้ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน และสหกรณ์กรีนเนท จำกัด ได้จัดกิจกรรม “ของเล่นทำมือสื่อรักษ์เพื่อลูก” ทำขึ้นจากผ้าฝ้ายทอมือเพาะปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ สีขาว สีตุ่น และสีคราม (เกิดจากพืชล้มลุก “ต้นคราม”) ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองจำนวนหนึ่งในการทำของเล่นให้ลูกด้วยตนเอง
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา และมีความสนใจวิธีทำของเล่นเพื่อลูกรักจากผ้าฝ้ายทอมือ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิสายใยแผ่นดิน อีเมล์ thairaman@gmail.com


ที่มา: http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=114071

เลือก ของเล่นปลอดภัย ให้ลูกรัก



ข่าวอันตรายจาก ของเล่นปนเปื้อนสารตะกั่ว หรือจากของเล่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาจทําให้คุณแม่หลายท่านรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะกลัวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับลูกของเราเอง แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่าของเล่นคุณภาพ ที่ช่วยเสริมพัฒนาการลูกได้ ปลอดภัยด้วย มีอยู่ใกล้ๆ ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่จะเลือกหยิบเอาชิ้นไหน และปลูกฝังวิธีเล่นปลอดภัยให้ลูกอย่างไร
 
รู้จักคําว่า ‘ของเล่น’
     ของเล่นที่เราเข้าใจ หมายถึงของที่สร้างมาให้เด็กเล่นสนุก มักเป็นชิ้น เป็นชุด เป็นรูปแบบเฉพาะ แต่สําหรับเด็ก ของเล่น คือทุกอย่างที่อยู่ในมือ แม้แต่มือหรือเท้าของตัวเอง
     กระบวนการเรียนรู้ของเด็กประกอบด้วยสมอง ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเล่นทดลองสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็น เล่นโยนลูกบอล เล่นเคาะถ้วยชาม เล่นปีนโต๊ะ เล่นทราย เล่นวิ่งไล่นก ต่างก็เป็นตัวช่วยทําให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง 3 ส่วนนี้ได้ ดังนั้น ปัญหาของเล่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่สําหรับครอบครัวคุณแม่ ยุคใหม่อีกต่อไป เมื่อเราสามารถเลือกของเล่นคุณภาพ จากสิ่งรอบตัวได้มากมาย
 
ของเล่นสําเร็จรูป
 โดย ทั่วไป ของเล่นสําเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาด มักจะมีผู้ให้คําแนะนําแล้วว่า ของเล่นชิ้นนี้เด่นในเรื่องการเสริมพัฒนาการด้านไหน ส่วนอีกชิ้นจะเด่นในเรื่องใด เช่น ตุ๊กตา เสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ การเล่นบทบาทสมมติ หนังสือผ้าช่วยสร้างสมาธิ จินตนาการ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน รถลางจูง ลูกบอล ช่วยเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทํางานประสานสายตา 
• หากคุณแม่มี ความเข้าใจพัฒนาการของลูก ว่าช่วงเวลานี้ควรเสริมทักษะด้านใด ลูกจะรู้สึกสนุกกับของเล่นชิ้นใดได้บ้าง แล้วเลือกซื้อของเล่นให้ตรงกับความต้องการ ไม่ซับซ้อนหรือเล่นง่ายเกินไป จะช่วยให้ของเล่นที่ซื้อมาได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าคุ้มราคา
 
เล่นปลอดภัย
• ระวัง ตั้งแต่การเลือกซื้อ ดูว่าเหมาะกับพัฒนาการตามวัยลูก มีชิ้นส่วนที่เล็กเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือไม่ ระวังเหลี่ยมมุมแหลมคม ปราศจากสารพิษเจือปน ทนมือลูกได้ดี การผลิตได้มาตรฐาน และมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์
 
ของเล่นจากธรรมชาติ
• ใน ช่วงแรกเริ่มของชีวิต เด็กๆ ควรได้รู้จักและสัมผัสกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ ทราย ดิน หิน หญ้า ของเล่นจากไม้ ฯลฯ ซึ่งของเล่นจากธรรมชาติเหล่านี้อาจทําให้ลูกมอมแมมไปบ้าง (ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเพียงแค่ ล้างหลังจากเล่นเสร็จแล้ว) แต่ลูกจะเรียนรู้ว่า เหยียบพื้นหญ้าไปแล้ว รู้สึกนุ่มๆ แต่ก็ไม่สบายเท้า ชื้นๆ ล้มแล้วก็ไม่เจ็บเท่าไร รู้ว่าน้ำทําให้เปียก มีทั้งร้อนและเย็น ทรายเป็นเม็ดเล็กๆ มีกองเล็ก มีกองใหญ่ และคิดต่อยอดว่าจะต้องเล่นอย่างไรจึงจะสนุก
• ลูก ได้จับ รับรู้ผิวสัมผัสที่แตกต่าง จมูกได้กลิ่น ใช้สายตามองดู เอียงหูฟังเสียง แม้กระทั่งเสียงเทน้ำไหลจ๊อกๆ หากคุณแม่ชี้ชวนให้ลูกตั้งใจฟัง การเทน้ำจากแก้วใบหนึ่งลงพื้น ก็เป็นของเล่นที่ทําให้ลูกได้เรียนรู้แล้วความใกล้ชิดนี้จะช่วยกล่อมเกลาจิต ใจลูกให้อ่อนโยน เข้าใจความเป็นมาเป็นไป รู้สึกรักและหวงแหนธรรมชาติ
 
เล่นปลอดภัย
• อันตรายจากของเล่นธรรมชาติมีน้อย เพราะปราศจากสารเคมีและสิ่งปรุงแต่ง
• ใช่ ว่าจะวางใจของเล่นจากธรรมชาติได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะทรายสามารถปลิวเข้าตาลูก ถ้าลูกไม่ได้เรียนรู้ว่า อย่าเททรายสูงเกินไป น้ำในอ่างอาจทําให้ลูกสําลักได้ แม้แต่หินก้อนเล็ก ลูกก็อาจหยิบเข้าปาก ติดคอได้ถ้าไม่รู้ว่าควรระวัง คุณแม่เป็นตัวช่วยแรกที่จะป้อนข้อมูลวิธีเล่นอย่างปลอดภัยให้กับลูกได้ และเลือกให้เหมาะกับวัย
 
ของเล่นในบ้าน
• บรรดา ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ที่นอนนิ่มๆ โต๊ะเก้าอี้ บันได ถ้วยชาม แก้วพลาสติก เครื่องใช้ในครัว ต่างเป็นของใช้ในชีวิตประจําวันที่เจ้าตัวเล็กสามารถแปรสภาพให้มันกลายเป็น ‘ของเล่น’ สําหรับเขาได้
• เด็กๆ จะได้ใช้จินตนาการ เล่นบทบาทสมมติ เอาแก้วเปล่าๆ มาเท ใช้ช้อนคน เลียนแบบการทําอาหารของคุณแม่ เอาหมอนหลายใบมากองสูงๆ สมมติว่าเป็นภูเขาไว้ปีนป่าย
• ของเล่นในบ้านจะกึ่งบังคับให้ลูกต้องใช้กระบวนการคิด หาวิธีสร้างสรรค์ความสนุกจากสิ่งของที่ดูธรรมดาๆ ให้สนุก
 
เล่นปลอดภัย 
• ของ ใช้ในบ้านไม่ได้ผลิตมาเพื่อการเล่นสําหรับเด็ก ดังนั้นการเล่นให้ปลอดภัย จึงเป็นหลักการเดียวกับการป้องกันอันตรายในบ้านนั่นเอง เช่น การลบเหลี่ยมมุมโต๊ะ ปิดปลั๊กไฟที่อยู่ในระดับที่ลูกเอามือแหย่ถึง พวกสารเคมีหรือของใช้ที่แตกหักง่ายอย่างชามแก้ว เซรามิคก็ควรเก็บให้พ้นมือลูกเสียก่อน
• ลูก วัยนี้มักชอบทดสอบกล้ามเนื้อมัดเล็กใหญ่ของตัวเอง พวกตู้ โต๊ะ ของเล่นชิ้นยักษ์สําหรับลูกก็ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ดี แต่คุณแม่ต้องทําความเข้าใจกับเขา ลูกปีนเก้าอี้ตัวใหญ่ได้ แต่ปีนเก้าอี้ติดล้อไม่ได้นะ และบอกเหตุผลว่าเพราะอะไร เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง  
 
ของเล่นทําเอง
• ลูก จะมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีขึ้น เมื่อได้กอดตุ๊กตาสัตว์นุ่ม และจะดีแค่ไหนหากตุ๊กตานั้นทําด้วยผ้าขนหนูจากฝีมือของคุณแม่ ที่แฝงความรักและความห่วงใย ใส่ลงไปทุกขั้นตอนการประดิษฐ์
• ของ เล่นทําเองได้แก่ หุ่นมือ ตุ๊กตาจากผ้า หนังสือทําเอง สมุดวาดภาพระบายสี แป้งโดว์ รถลากจูงจากขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ   นอกจากจะสร้างประสบการณ์ให้ลูกได้โดยไม่ต้องกระเป๋าฉีก ยังช่วยให้คุณแม่สร้างสรรค์ของเล่นได้ตรงกับความสนใจและพัฒนาการลูกด้วย
• อาจ จะให้ลูก ‘ช่วย’ ทําของเล่นด้วย ช่วยกันคิดช่วยกันทํา ออกแบบว่าอยากให้เป็นอย่างไร แม้จะไม่ใช่ของเล่นที่สวยงามหรือสมบูรณ์แบบ แต่มันก็จะเป็นของเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับเจ้าตัวเล็ก
 
เล่นปลอดภัย
• ของเล่นทําเองได้เปรียบกว่าของเล่นประเภทอื่น ตรงที่
คุณ แม่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ วิธีการทํา เช่น การให้ลูกเล่นปั้นแป้ง คุณแม่ก็สามารถเลือกวัตถุดิบที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุดให้กับลูกได้ โดยไม่ลืมที่จะทําของเล่นตามพัฒนาการและความสนใจของลูกเป็นสําคัญ
• เมื่อคุณแม่สร้างของเล่นที่ปลอดภัยให้แล้ว อย่าลืมสอนลูกสังเกตความเปลี่ยนแปลงของของเล่นเหล่านั้นด้วย เช่น “ตอนนี้
รถ ลากล้อหลุดแล้ว หนูต้องบอกคุณแม่ให้มาช่วยหาทางซ่อมกันนะ ไม่อย่างนั้นไม้แหลมที่ยื่นออกมาตรงล้ออาจทิ่มตาหนูได้ถ้าไม่ระวัง” เป็นต้น
 
 
 
 
 
Tips

• การ สอนลูกเรียนรู้วิธีเล่นตามลําดับขั้น จากของเล่นที่อันตรายน้อย เช่น ให้ลูกลองแตะน้ำอุ่นในอุณหภูมิที่ลูกยังรับได้ เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่อันตรายกว่าคือ น้ำร้อน ว่าอาจทําให้ลูกมือพองผิวลอกและเจ็บได้ เป็นการสอนลูกให้รู้จักระวังอันตรายจากตัวอย่างที่สัมผัสได้จริง จะทําให้ลูกเชื่อ และจดจําได้ดีกว่าการสอนปากเปล่า

• การ เก็บของเล่นก็มีความสําคัญ ไม่สุมของเล่นลูกทั้งหมดไว้เป็นกองสูงและแน่น เพราะอาจเป็นอันตราย เลือกชั้นวางแบบเปิดจะปลอดภัยกว่าการเก็บในตู้ ป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปติดอยู่ในนั้น

• หมั่นสํารวจตรวจดูของเล่นอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีชิ้นส่วนไหนชํารุดเสียหายบ้าง

• ของ เล่นบางชิ้นที่เหมือนไม่ใช่ของเล่น และดูน่าจะมีอันตราย เช่น มีด กรรไกร เพราะเป็นของมีคม ลูกยังไม่มีข้อมูลเก็บไว้เหมือนผู้ใหญ่ว่าถ้าจับตรงด้านคมมันจะบาดมือ จึงอยากแนะนําให้ลูกได้มีโอกาส ‘ลองเล่น’ ดูบ้าง โดยคุณแม่เป็นผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ลูกจะได้เรียนรู้ว่าต้องจับมีดแบบไหน ถือกรรไกรอย่างไร มันถึงจะไม่บาดมือ หากลูกไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้วิธีเล่นที่ปลอดภัยเลย ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า

• ของ เล่นบางชิ้น เด็กบางคนเล่นได้ แต่เด็กบางคนเล่นแล้วอันตราย เพราะเด็กๆ มีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกัน เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องทําความรู้จักธรรมชาติของลูก ด้วยการเฝ้าดูลูกเล่น หมั่นสังเกตว่าลูกใช้ทักษะต่างๆ ได้คล่องหรือไม่ มีความสามารถทําอะไรได้บ้าง ก็จะช่วยให้วางแผนการเลือกของเล่นได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Subject :ของเล่นเด็กมีมากจะดีหรือ?

:?
ข้อมูลจาก http://www.elib-online.com/doctors49/child_toy003.html

ปัจจุบันยังมีแม่อีกมากที่ชอบซื้อของเล่นให้ลูก คุณแม่ส่วนใหญ่ชอบเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการ เพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกแทนเวลาที่แม่ไม่อยู่ ของเล่นพวกนี้คงจะเป็นเครื่องมือช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีได้ไม่มากก็น้อย ฟังดูก็มีเหตุผล แต่จะถูกหรือผิด ไปดูผลงานการวิจัยกันค่ะ

รศ.พญ.นิตยา คชภักดี กุมารแพทย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า ของเล่นกระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ถ้ามากเกินไปกลับส่งผลให้เกิดความเครียด เปรียบเหมือนเราไปในสถานที่ที่มีแสงสีเสียงมากๆ ทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะและมีสมาธิจดจ่อน้อยลงด้วย ส่วนของเล่นที่ยากเกินอายุ แทนที่จะส่งผลดีต่อเด็ก แม่ซื้อรถบังคับวิทยุทั้งที่ลูกเพิ่งจะอายุ 2 ขวบ เขาก็จะไถให้มันวิ่ง พอมันไม่วิ่ง เด็กก็จะโกรธและขว้างทิ้ง คุณก็จะโกรธว่าของเล่นดีๆ แพงๆ ทำไมลูกถึงทำอย่างนั้น สรุปคือเสียอารมณ์ทั้งแม่และลูก การเลือกของเล่นจึงต้องเหมาะกับพัฒนาการของเด็กด้วย

รศ.ดร.จิตินันท์ เตชะคุป ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นของเด็กทั้งในและต่างประเทศ กล่าวว่า ที่สหรัฐอเมริกามีคุณพ่อท่านหนึ่งสร้างห้องสำหรับเล่นให้ลูก ภายในห้องมีของเล่นเยอะมากแต่แทนที่ลูกจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่พ่อหามาให้ ลูกกลับไม่ยอมเล่นเลยเพราะความมีมากเกินไป ต่างกับอีกครอบครัวหนึ่งที่ผู้ปกครองหาเวลามาเล่นกับลูกแทนการใช้ของเล่น คือเป็นการเล่นในลักษณะทางกาย คุณพ่อจะเล่นมวยปล้ำกับลูก ส่วนคุณแม่จะสอนในลักษณะการสอนเรื่องสี ขนาดรูปทรง จากสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เด็กมีพัฒนาการที่ดี เพราะได้คิดตามผู้ใหญ่ การให้เล่นของเล่นที่ไม่มีสภาพเหมือนของจริง เช่น เอากล่องกระดาษมาจินตนาการว่าเป็นรถ จะพัฒนาความคิดซับซ้อนให้กับเด็กซึ่งดีกว่าการเล่นของเล่นที่เหมือนจริง เนื่องจากเด็กต้องใช้จิตนาการว่ากล่องกระดาษเป็นรถนั่นเอง

ส่วนในต่างประเทศมีการวิจัยในเรื่องนี้หลายชิ้น เช่น มิลแคร์ เลิร์นเนอร์ ชาวอเมริกัน นักวิจัยด้านพัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พบว่าเด็กที่มีของเล่นมากเกินไป จะลดความสนใจที่จะเล่นของเล่นของตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีของเล่นน้อยชิ้นกว่า ซึ่งตรงกับผลงานการวิจัยของ แคธี่ซิลเวียนักวิจัยคณะจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงซ้อน เกี่ยวเนื่องระหว่างการก้าวหน้าของเด็ก ชนิดของเล่นที่ให้กับเด็ก และเวลาที่พ่อแม่เล่นกับลูก พบว่าของเล่นที่มากชิ้นแทนที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก กลับทำให้เด็กลดความสนใจของเล่นลง และใช้เวลากับของเล่นไม่นานนัก จนไม่สามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของของเล่นชิ้นนั้นได้

ประเทศอังกฤษมีการทำวิจัยว่า ผู้ปกครองซื้อของเล่นเป็นจำนวนเงินถึง 1.67 พันล้านปอนด์ต่อปี เฉลี่ยปีละ 139 ปอนด์ต่อเด็ก 1 คน ในจำนวนนี้เป็นของเล่นที่ซื้อมาแล้วเด็กไม่ได้เล่น ตีเป็นเงินถึง 5 พันล้านปอนด์

Mr.Orhan Ismail นักวิจัยจากประเทศอังกฤษ สังเกตพฤติกรรมจากลูกของตนเองว่า เมื่อได้ของเล่นหลายชิ้นจะเล่นปุ๊บปั๊บแล้วเลิก หันไปหาอย่างอื่นเล่นแทน เช่น รองเท้าแตะใส่เดินในบ้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในของใช้ที่มีอยู่ทั่วไปในบ้าน

มีผู้แสดงความเห็นว่า การกระตุ้นให้ลูกออกไปวิ่งเล่นข้างนอกบ้านจะดีกว่า แต่ถ้าอยู่ในบ้าน การให้เล่นกล่องกระดาษจะดีกว่าตุ๊กตาบาร์บี้ เพราะกล่องกระดาษช่วยให้ลูกสามารถสร้างจิตนาการเอาเองได้มากกว่าเนื่องจาก จะสมมติเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่ความนึกคิดของเด็ก ในขณะที่ตุ๊กตาบาร์บี้ที่มีชุดแต่งตัวเป็นทันตแพทย์ ก็จะหยุดจินตนาการของเด็กเพียงแค่นั้นนอกจากนี้มีงานวิจัยที่รวบรวมเป็นหนังสือช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ว่าวิธีดังกล่าวช่วยสร้างให้เด็กมีความภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในตนเอง และในทางกลับกัน หากเด็กใช้เวลามากเกินไปกับการเล่น เช่น เด็กที่ติดเกมส์คอมพิวเตอร์ จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างจิตนาการของเด็กจำกัดหรือลดน้อยลงด้วย

ฉะนั้นของเล่นที่มากเกินไป รวมถึงเวลาในการเล่นของลูก ไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของลูกได้ หากขาดคุณภาพ ซึ่งในที่นี้ก็คือคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่
เล่นกับลูก เพราะถึงแม้คุณจะมีเวลาไม่มาก แต่ถ้าเวลาเหล่านั้นผ่านไปอย่างมีคุณภาพ เด็กได้เล่นและเรียนรู้อย่างพอดีไปในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ช่วงเวลาที่เกิดประโยชน์สูงสุดได้ค่ะ